การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาแคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

วีรยุทธ ด้วงใย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านวิชาแคลคูลัส 1  2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ฯ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสำรวจความพึงพอใจ ดำเนินการทดลองในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 28 ชั่วโมง นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติทดสอบที (Paired Sample t–test และ One Sample t–test) และวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
           ผลการวิจัยพบว่า
            1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านเป็นการจัดกิจกรรม 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นการกำหนดปัญหา แล้วให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้ามาล่วงหน้า และขั้นตอนที่สองเป็นการฝึกใช้ความรู้ที่ศึกษามาล่วงหน้าในการแก้ปัญหาตามกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน 5 ขั้นคือ 1. ขั้นกำหนดปัญหา ผู้สอนเสนอปัญหาหรือบทเรียนที่จะเรียนรู้ 2. ขั้นศึกษาข้อมูล ความรู้ เป็นการศึกษาข้อมูล ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจากเอกสาร หนังสือ ตำรา หรือคลิปวิดีโอที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนการเรียนรู้  3. ขั้นสรุปผลการศึกษา เป็นการนำผลการศึกษาล่วงหน้า มาอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปสาระความรู้ที่ได้ 4. ขั้นนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหา เป็นการนำข้อสรุปหรือความรู้ที่ได้จากการศึกษาล่วงหน้ามาเชื่อมโยงกับข้อมูลในปัญหา เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือหาคำตอบหรือสรุปเป็นความรู้ใหม่ 5. ขั้นตรวจสอบและนำเสนอผลสรุปที่เป็นความรู้ใหม่
           2) ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านวิชาแคลคูลัส 1
                2.1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
                 2.2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีนักศึกษาได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92
                2.3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ฯ โดยรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 12 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2556). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (FLIPPED CLASSROOM : LEARNING SKILL IN CENTURY 21ST. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 6 (2 ฉบับพิเศษ). 175-176.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัยสิทธิ์ นันขันตีและยาใจ พงษ์บริบูรณ์(2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละ ด้วยการจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานและกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสาร มจร อุบลปริทัศน์ (Journal of MCU Ubon Review). 6 (3), 125–136.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญสนอง วิเศษสาธร.(2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารศึกษาศาสตร์ (Journal of Education). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30 (1), 135 – 145.

ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุวนิตย์ หงษ์ตระกูล. (2543). แนวคิดเบื้องต้นของแคลคูลัส สำหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏ. ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

รุ่งนภา นุตราวงศ์. (2557). แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flip Your Classroom). วารสารวิชาการ. 17 (1), 2-13.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอสอาร์.พริ้นติ้ง.

สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2558). การสร้างชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 สำหรับนักศึกษาเอกคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร: The Practice Set Creation Of Calculus II For Mathematics Students In Phranakorn Rajabhat University. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10 (2), 123 -131.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

Barbara Walvoord& Virginia Johnson Anderson. (1998). Effective Grading : a Tool for Learning and Assessment. San Francisco. Calif. :Jossey-Bass Publishers.

Johnson, G. B. (2013). StudentPerceptions of the Flipped Classroom.Okanagan. The College of Graduate Studies Educational. The University of British Columbia.

Jonathan Bergmann and Aaron Sams. (2012). Flipped Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. Technology Coordinators.curriculum specialists.

policy makers.

Jureerat Thomthong. (2014). ห้องเรียนกลับด้าน. (The Flipped Classroom). ออนไลน์. สืบค้น 17 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://prezi.com/.o1 meklxbpyl2 / the- flipped-classroom/.

Larsen, J. A. (2013). Experiencing a Flipped Mathematics Classroom the Secondary Mathematic Education Program Faculty of Education. Simon Fraser Education.