การออกแบบและพัฒนาเครื่องวัดสภาพดินด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ สำหรับการปลูกกระเทียมอินทรีย์

Main Article Content

อนุชา ดีผาง
ทองปาน ปริวัตร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นงานพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการออกแบบและพัฒนาเครื่องวัดสภาพดินด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการปลูกกระเทียมอินทรีย์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพเครื่องวัดสภาพดินด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการปลูกกระเทียมอินทรีย์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเครื่องวัดสภาพดินด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการปลูกกระเทียมอินทรีย์ เป็นการรูปแบบวิจัยโดยการทดลอง ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างเครื่องวัดสภาพดินเพื่อวัดปริมาณธาตุอาหารหลัก ค่าความเป็นกรด-ด่าง และเปอร์เซ็นต์ความชื้นในดินด้วยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์วัดการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าในดินที่เกิดจากระดับของแร่ธาตุในดินที่แตกต่างกัน แปลผลสัญญาณด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์  WeMos D1 ESP8266 WIFI และแสดงค่าที่วัดได้ผ่านจอ LCD โดยได้นำผลการวัดไปเปรียบเทียบกับเครื่องวัดที่ได้รับมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 5 คน และ 2) เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกกระเทียมอินทรีย์ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องวัดสภาพดิน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งาน เก็บข้อมูลโดยให้ผู้เชี่ยวชาญทดลองและประเมินประสิทธิภาพ และนำเครื่องวัดสภาพดินไปให้กลุ่มผู้ปลูกกระเทียมอินทรีย์ทดลองใช้งานกับแปลงปลูกกระเทียมในพื้นที่จริง เป็นระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นให้ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเครื่องมือวัดสภาพดิน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัยนี้ ใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแปลผลตามช่วงระดับคะแนน
          ผลการวิจัยพบว่า เครื่องวัดสภาพดินด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการปลูกกระเทียมอินทรีย์ สามารถวัดค่าปริมาณธาตุอาหารในดินได้อย่างถูกต้อง และสามารถวัดค่า (pH) และเปอร์เซ็นต์ความชื้นในดิน ได้ใกล้เคียงกับเครื่องวัดที่ได้มาตรฐาน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1  สำหรับผลการประเมินประสิทธิภาพการทำงานโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ประสิทธิภาพของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ปลูกกระเทียม พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ทั้งนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่ากลุ่มเกษตรกรเปิดใจยอมรับต่อการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเกษตรและสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพผลผลิตและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้ตามเป้าหมายของคณะวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิติคม อริยพิมพ์ และ อนุชา ดีผาง. (2564). อุปกรณ์ควบคุมการทำงานมิเตอร์ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 5 (1), 128-136.

พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ พลปชา มณรัตนชัย และทักศิณา คงสมลาภ. (2564). การพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรสวนครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 18 (2), 185-198.

รัฐศิลป์ รานอกภานุวัชร์. (2561). ระบบให้บริการผ่านกลุ่มเมฆสําหรับการตรวจวัดและการให้นํ้าพืชอัตโนมัติตามค่าความชื้นในดิน. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 8 (2), 65-73

วีระพล แก้วก่า และ อภิชาติ ศรีชาติ. (2561). การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกกลีบกระเทียมด้วยแรงดันลมแบบหมุนเวียน. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 4(1), 1-9.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). สศก. เผยผลศึกษาความต้องการกระเทียมไทย-จีน ผ่านมุมมองผู้ประกอบการภาคเหนือ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว สศก./31675/TH-TH

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์ อรรควุธ แก้วสีขาว และธนาพล ตริสกุล. (2564). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งกรณีศึกษาสวนมะม่วง.วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”. 8 (1), 60-72.

ยุภาพร แหเลิศตระกูล. (2561). การศึกษาปัจจัยเบื้องต้นในการสร้างเครื่องปอกเปลือกกระเทียมอย่างง่าย. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง. 2 (1), 26-33

อินทร์ อินอุ่นโชติ อัจฉราภรณ์ จุฑาผาด เกรียงไกร กันแก้ว เกษศิรินทร์ ภิญญาคง พรรณภา สังฆะมณี อุณดาทร มูลเพ็ญ และสุธาสินี วังคะฮาต. (2563). การพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงาน ท้องถิ่นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ( Smart Farmers) ด้านกระบวนการไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) สู่การเป็นนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยั่งยืน ในเขตจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14 (3), 13-22.

อุมาพร บ่อพิมาย นิคม ลนขุนทด อัษฎา วรรณกายนต์ และเที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน.(2563).ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะเกษตรอินทรีย์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (11), 63-78.

h2otester.com. (2018). การใช้งานเครื่องวัดค่าปุ๋ยและพีเอชดิน 2in1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. แหล่งที่มา : http://www.h2otester.com/article/12/การใช้งานเครื่องวัดค่าปุ๋ยและพีเอชดิน 2in1.

Posttoday.com. (2019). คาดผลผลิตกระเทียม ปี63 รวมกว่า 8.5 หมื่นตัน เตรียมทยอยออกสู่ตลาดปลายปีนี้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/economy/ news/605836.

Salvi Saurabh., et al, (2021). Soil Monitoring and Recommendation System. Proceedings of the 4th International Conference on Advances in Science & Technology (ICAST2021). May 7, 2021. India: K J Somaiya Institute of Engineering and Information Technology

S. N. Shylaja and M. B. Veena. (2017). Real-time monitoring of soil nutrient analysis using WSN. Online. Retrieved April 20, 2022. from : https://ieeexplore.ieee.org/ document/8390018