การพัฒนาสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ความรู้สุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการขยายต่อองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์และชุมชน 2) สร้างและพัฒนาพื้นที่ กิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นใน 20 พื้นที่จังหวัดต้นแบบ และ 3) ขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาและการสนับสนุนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา(โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5) ของมหาเถรสมาคม โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ตัวแทนคณะสงฆ์วัดและชุมชนจำนวน 20 วัด สุ่มแบบการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการปฏิบัติการในพื้นที่ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาองค์ความรู้สุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการขยายต่อองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์และชุมชน พบว่า โดยการพัฒนาสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นภาคีเครือข่ายในการเข้าร่วมกับองค์กรทางพระพุทธศาสนาเพื่อการสร้างสังคมสุขภาพวอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งอออกเป็น 5 ประการได้แก่ 1) เครือข่ายคณะสงฆ์ปกครอง 2) เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา 3)เครือข่ายพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา 4) เครือข่ายขบวนการพุทธใหม่ 5) เครือข่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สร้างการตระหนักถึงบทบาทการพัฒนาสังคมสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา ที่ครอบคลุมมิติกาย จิต ปัญญาและสังคม 2) สร้างและพัฒนาพื้นที่ กิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นใน 20 พื้นที่จังหวัดต้นแบบ พบว่า การร่วมมือดำเนินการกับฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยสงฆ์ รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่จะเข้าร่วมสนับสนุนกาสร้างสังคมสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา แบ่งเป็นฝ่ายได้ดังนี้ 1) ฝ่ายเผยแผ่ขับเคลื่อนโครงการ 2) ฝ่ายสาธารณูปการ ขับเคลื่อนโครงการประชา รัฐ วัด สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส. และ 3) ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ขับเคลื่อนโครงการ 3) ขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาและการสนับสนุนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา(โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5) ของมหาเถรสมาคม พบว่า เกิดเป็นพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับสุขภาวะตามแนวทางพระพุทธศาสนาให้กับผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ
Article Details
References
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. 2556. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักสนับสนุนสุขภาวะ องค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไกรสร แสนวงค์ และคณะ. (2564). “รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในภาคเหนือ”. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 10 (1), 16-32.
พระครูสิริรัตนานุวัตร และคณะ. (2559). พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2561). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (1), 344-352.
สมารถ ใจเตี้ย. (2562). การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28 (2), 185-194.
อุ่นเอื้อ สิงห์คำ และน้องเล็ก คุณวราดิศัย. (2557). กระบวนการและผลของการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 19 (1), 73-85.
พระสุระ สนทิทชัย และ รชพล ศรีขาวรส. (2562). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมผู้สูงวัย โอกาสและความท้าทายของอุมศึกษา” วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2562 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา จ.นครราชสีมา.
ประยงค์ ศรไชยและคณะ(2559). ศึกษารูปแบบแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ในจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโรและสายชล ปัญญชิต. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (1), 958-971.