แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Main Article Content

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์
ชัชภูมิ สีชมภู

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวนทั้งหมด 48 คนโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น ระยะที่ 1 ศึกษาระดับสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
          ระดับสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
          แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล สรุปได้ดังนี้
          1) ด้านวิสัยทัศน์ ควรเป็นที่มีความรู้ กล้าคิดนอกกรอบ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านบริหารให้ครอบคลุมงานทุกด้านในสถานศึกษา กำหนดทิศทางให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
          2) ด้านกลยุทธ์ สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่างบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดสรรบุคลากร ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และแต่งตั่งคณะกรรมการในการดำเนินงาน ติดตตาม และประเมินผล
          3) ด้านศักยภาพเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาการนิเทศภายในโดยการนิเทศแบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการศึกษา นำผลการนิเทศสู่การปรับปรุงเพื่อการบริหารอย่างมีคุณภาพ
           4) การสอนงานและมอบหมายงาน ควรให้คำแนะนำ ส่งเสริม จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ สร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนสร้างผลงาน นวัตกรรม และทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดหาเวทีในการแข่งขัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงหาดไทย. (2564). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2560). คู่มือการจัดการเรียนการสอน Active Learning. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิพวัลย์ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชีย.

เทพวรินทร์ เขื่อนปัญญา. (2554). รูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2538). วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ภาณุวัฒน์ สิงห์หาญ. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการเนการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณีรัตน์ สุดเต้. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาอตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วรรณสิริ สร้างเอี่ยม. (2562). หลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. สารนิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligent). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วอล์ค ออน คลาวด์.

สิธิพงษ์ ผดุงบุตร. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: http://ictstou.blogspot.com/2017/11/digital.html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). ทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการศึกษาไทย 2561. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อารีย์ น้ำใจดี. (2562). ผู้นำกับการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-