อิทธิพลของโครงสร้างความเป็นเจ้าของส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการผ่านการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา สดใส นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อเนก พุทธิเดช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

โครงสร้างความเป็นเจ้าของ, ผลการดำเนินงาน , การเปิดเผยข้อมูล ESG

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของโครงสร้างความเป็นเจ้าของต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนและผลการดำเนินงานของกิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมบริการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 บริษัท โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีพ.ศ. 2566 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานและการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis)

          ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างความเป็นเจ้าของแบบสถาบัน (IO) แบบการบริหาร (MO) และแบบชาวต่างชาติ (For O) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์รวม (ROA) ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ที่ดีขึ้น ในขณะที่โครงสร้างความเป็นเจ้าของกิจการโดยภาพรวม มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) ซึ่งอาจมาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์รวม (ROA) แต่ส่งผลเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และผลการศึกษายังพบว่า โครงสร้างความเป็นเจ้าของกิจการโดยรวมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของกิจการโดยผ่านการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) โดยเฉพาะโครงสร้างความเป็นเจ้าของแบบครอบครัว (FO) แบบสถาบัน (IO) ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) จะเห็นว่าโครงสร้างการความเป็นเจ้าของถือหุ้นจากทั้งภายในและจากต่างชาติมีบทบาทสำคัญในการส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของกิจการโดยผ่านการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) ซึ่งบ่งชี้ว่าการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) อาจต้องใช้เวลาในการสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว

References

PPTV Online. (7 กรกฎาคม 2566). STARK ตั้ง 3 บอร์ดใหม่เข้าดำรงตำแหน่ง ถอด วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ. https://www.pptvhd36.com/wealth/stock-investment/200272

ไชยศักดิ์ พรก่ำศุภะไพศาล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของกับอัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ฐิติพร โตรอด. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [การศึกษาอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). โครงสร้างของ Holding Company. https://media.set.or.th/ Documents/2022/Mar/.

นิจวิภา ภูกัน. (2567). การเปิดเผยรายงานความยั่งยืนกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่11 และระดับนานาชาติครั้งที่9. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ปิยานันทน์ ณัฐรุจิโรจน์ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบันและสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นหน่วยงานรัฐบาลกับผลการดำเนินงานของบริษัท. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 1-16.

พิริยพล แดงเดช. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐานการรายงานสากล (GRI Standards) กับผลการดำเนินงานขององค์กร: กรณีศึกษารายชื่อหุ้นยั่งยืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญนภา เชาวนา, ภูมิ บุญโสภาษ, และวิภาวดี นาคสวัสดิ์. (2567). อิทธิพลของโครงสร้างการถือหุ้นต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 140-156.

เพ็ญพระพักตร์ มานะปรีชาดีเลิศ, และ บุญญารัตน์ ฤๅชา. (2566). ระดับการรายงานเพื่อความยั่งยืนที่มีต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผลการดำเนินงานของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปีที่ 2, 1-9.

ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์, อรวรรณ เชื้อเมืองพาน, และพรชัย เตชะธนเศรษฐ์. (2561). โครงสร้างผู้ถือหุ้นผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการ และผลการประเมินความยั่งยืนที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 106.

มีญชบัญฑ์ เครือใหม่. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของ ผลการดำเนินงานของบริษัท และการเลือกผู้สอบบัญชีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชุดา สมงาม. (2564). การศึกษารายงานความยั่งยืนที่ส่งผลตอบแทนต่อผู้ลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การศึกษาอิสระคณะบริหารธุรกิจบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชุดา สมงาม, ปทุมวดี โบงูเหลือม, กมลวรรณ วิมลศิลป์, ชนวรา เลื่อนยศ, ชื่นนภา พิณเสนาะ, ธมนวรรณ รังผึ้ง, และนุศรา ลามอ. (2566). โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8, 102-104.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร, และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบันและสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นหน่วยงานรัฐบาลกับผลการดำเนินงานของบริษัท. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 110-125.

สมบูรณ์ สาระพัด. (2565). ผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 1(2), 5-11.

สุพัตรา ละดาดาษ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน และโครงสร้างความเป็นเจ้าของธุรกิจแบบครอบครัวกับผลการดำเนินงานของกิจการ. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 6(1), 32-40.

อภิญญา จุ้ยด้วง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุทัยวรรณ เสมอจิตร, และ สุภาวดี สุขีชีพ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับต้นทุนเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2024