การกำกับดูแลกิจการและโครงสร้างการบริหารที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานผ่านการวางแผนภาษี: หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
การกำกับดูแลกิจการ, โครงสร้างการบริหาร, การวางแผนภาษี, ผลการดำเนินงานทางการเงินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการกำกับดูแลกิจการและการวางแผนภาษี ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีจำนวน 167 แห่ง การเลือกกลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ G*Power ซึ่งคำนวณจาก Effect Size ที่ 0.35 ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 70 บริษัท โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานประจำปีและงบการเงินด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่าการกำกับดูแลกิจการและองค์ประกอบบางอย่าง เช่น สัดส่วนคณะกรรมการอิสระและสัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการวางแผนภาษี (อัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวม) และ ผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่าการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นและการวางแผนภาษีบางประเภทไม่มีความสัมพันธ์กัน ข้อค้นพบนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ภาษีที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท เช่น การปรับปรุงการบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม
References
เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย, อนุวัฒน์ ภักดี และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2562). ผลกระทบของคะแนนการกำกับดูแลกิจการและคุณลักษณะคณะกรรมการบริษัทต่อความทันต่อเวลาของงบการเงิน. วารสาร สภาวิชาชีพบัญชี, 48(15), 5-25.
กันญภรณ์ เต็มบุญประเสริฐสุข. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกํากับดูแลกิจการที่ดีต่อการวางแผนภาษีกรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ในกลุ่ม Top 100. วารสารวิชาชีพบัญชี, 54(17), 52-65.
ชาญชัย ตั้งเรืองรัตน์. (2565). ความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการต่อความมีเสถียรภาพกำไร : นักลงทุนควรสนใจหรือไม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 18(59), 7.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). การสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน Corporate Governance Report of Thai LISTED COMPANIES (CGR). https://setsustainability.com /page/cgr-corporate-governance-report.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). สถิติสินค้าส่งออกของประเทศไทย. ttps://www.mmthailand.com/ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม.
พันธ์แสน ใจชื้น, ปภัสวรรณ ภู่สุวรรณ, ศิริกัญญา พึ่งงาม, อุภาวดี เนื่องวรรณะ, วรก แช่มเมืองปักร, ขวัญนรี กล้าปราบโจร, ฐิติพร พระโพธิ์ และสร้อยเพชร ลิสนิ.
(2565). ปัจจัยการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 3(12), 23-31.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศูนย์พยากรเศรษฐกิจและธุรกิจ. (2567). สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. จาก 10 สินค้าส่งออกไทย ดาวเด่น - ดาวรุ่ง2567.https://www.thaichamber.org/news/view /87/2585/10-สินค้าส่งออกไทย-ดาวเด่น-ดาวรุ่ง-2567.
รมิดา คงเขตวณิช. (2563). การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมูลค่าของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 9(5), ฉบับที่ 9 หน้า 425-441.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2562). การกำกับดูแลกิจการที่ดีมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานผ่านการวางแผนภาษี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 3(38), 105-106.
Chung, K.H. and Pruitt, S.W. (1994). A Simple Approximation of Tobin’s q. Financial Management, 23(3), 70-74.
Fatma, N. and Hidayat, W. (2020), Earnings persistence, earnings power, and equity valuation in consumer goods firms. Asian Journal of Accounting Research, 5,(1), pp. 3-13. https://doi.org/10.1108/AJAR-05-2019-0041.
Hoffman, W. (1961). The theory of tax planning. The Accounting Review, 36(2), 244-253.
Jensen, M. a. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs, and ownship structure. Journal of financial Economics, 3(4), 305-360. http://papers.ssrn.co/sol3/ papers.cfm? Abstract_id=94043.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร