ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา ตันมณี สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • นัฐกานต์ ทิพยโสตถิ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • มัชฌิมา มะบุตร สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน, อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น , โครงสร้างเงินทุน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเก็บข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ SETSMART ตั้งแต่      ปี พ.ศ.2563 ถึงปี พ.ศ.2565 ตลอดทั้ง 3 ปี มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 475 บริษัท รวม 1,473 ข้อมูลสถิติ   ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ ขนาดของบริษัท ความสามารถในการทำกำไร ผลประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ใช่หนี้สินและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กิรณา ยี่สุ่นแซม, วิภาวี ศรีคะ และ พุทธมน สุวรรณอาสน์. (2565). อิทธิพลของการจัดทำบัญชีครัวเรือนต่อสภาพคล่องทางการเงิน. วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 1(1).

ณัฐญาดา คงสกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิตล] .มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. https://www.set.or.th/th/ market/index/set100/profile.

. (2566). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. https://www.set.or.th/th/market/information/ securities-list/main.

ธนวันต์ มุสิกกุล. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนหนี้สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เนาวรัตน์ ศรีพนากุล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาบริษัทที่อยู่ในกลุ่มดัชนี SET 50 [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปัณณภัสร์ ปัญญากาศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างเงินทุนและการจัดการเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปิยะรัตน์ โพธิ์ย้อยและคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(112), 140-161.

ภัทรมน สุคนธปฏิภาค. (2566). อิทธิพลของลักษณะของบริษัท ผลประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ใช่หนี้สินและความเสี่ยงทางธุรกิจที่มีต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทในดัชนีหุ้นยั่งยืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Procedia of Multidisciplinary Research, Vol.1, No.5, 17-11.

รทวรรณ อภิโชติธนกุล และ ธนิดา จิตรน้อมรัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดโครงสร้างเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(1), 111-119.

วรรณรพี บานชื่น และ รินรดา แสงบัว. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อกสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 43(3), 48-61.

วัฒนา ศักยชีวกิจ และ กอบกุล จันทรโคลิกา. (2559). ปัจจัยที่กำหนดโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดอาเซียน. วารสารวิชาชีพบัญชี JAP,ปีที่ 12, ฉบับที่ 33, 50.

วัลลภา ดีพันธุ์. (2565). ปัจจัยที่กำหนดโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยโดยวิธี Panel GMM Arellano-Bond of the dynamic panel data model [การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต] .มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิรากานต์ รักษ์สมบูรณ์. (2559). ลักษณะเฉพาะของบริษัทและอิทธิพลของอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชลี เมืองเจริญ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัศนัย ธุรวติกุล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างคณะกรรมการบริหารบริษัทกับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Deangelo, H., & Masulis, R. W. (1980). Optimal Capital Structure under Corporate and Personal Taxation. Journal of Financial Economics, Vol.8, No.1, 3-29.

F.Fama, E., & R.French, K. (2002). The Equity Premium. The Journal of Finance, Vol.57, No.2, 637-659.

Liang, C. C., Liu, Y., & Troy. C. (2020). Firm Characteristics and Capital Structure: Evidence from ASEAN-4 Economies. Advances in Pacific Basin Business, Economics and Finance, Vol.8, 149-162.

Michaelas, N., Chittenden, F., & Poutziouris, P.(1999). Financial Policy and Capital Structure Choice in U.K. SMEs: Empirical Evidence from Company Panel Data. Small Business Economics, Vol.12, No.2, 113-130.

Modugu, K. P., & Anyaduba, O. J. (2013). Forensic Accounting and Financial Fraud in Nigeria: An Empirical Approach. International Journl of Business and Social Science, Vol.4, No.7, 281-289.

Myers, S. C., & Majluf, N. S. (1984). Corporate financing and investment decisions when firms have information that investors do not have. Journal of Financial Econi=omics, Vol.13, Issue2, 187-221.

Ramjee, A., & Gwatidzo, T. (2012). Dynamics in capital structure determinants in South Africa. Meditari Accountancy Research,Vol.20,Issue1, 52-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2024