เศรษฐศาสตร์แห่งสุขภาพและความงาม: การดูแลสุขภาพและการนวดสปาในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ ดร.ปานชนม์ โชคประสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม, การดูแลสุขภาพ, การนวดสปา

บทคัดย่อ

          การดูแลสุขภาพและความงามด้วยการนวดสปา เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย และในทางเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพด้วยการนวดสปา ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากอาการเจ็บปวดเมื่อยล้าจากการทำงาน และช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น เลือดไหลเวียนดี งดงามจากภายในสู่ภายนอก บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนวรรณกรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์แห่งสุขภาพและความงาม: การดูแลสุขภาพและการนวดสปาในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ผลจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้นมีปัญหาทางสุขภาพ ผ่อนคลายภาวะความเครียดทางร่างกายและจิตใจ

       อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อสร้างกลยุทธ์การควบคุมต้นทุน โดยเน้นด้านโปรโมชั่น และความคุ้มค่าของการบริการกับเงินที่จ่าย เพื่อความพึงพอใจของผู้บริโภค และควบคุมต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการประกอบการธุรกิจการนวดสปา นอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ เชิงพฤติกรรมมีความยืดหยุ่นสูง ยังผลให้สามารถสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมบริการด้านการดูแลสุขภาพและความงาม เพื่อการมีสุขภาพที่ดี รวมถึงการมีผิวพรรณที่ดีจากการนวดสปาด้วยตนเองหรือบริการจากสถานประกอบการต่างๆ ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บป่วย เพราะได้ดูแลสุขภาพและความงามของร่างกายและจิตใจตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริงทั้งภายในและภายนอก

References

กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ฐิติพร สุแก้ว, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย และ ณัฏฐิญา ค้าผล. (2564). การวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพและเศรษฐศาสตร์ของการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

กมลชนก วรเดช, ญาณิศา ผัดดี, ฑิตฐิตา ยมนา, ภัทรปณัช สุนทรมัจฉะ, สุทธิวัส ผัดคํา และ อรปรียา จันทร์ตรี. (2566). เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมการสะกิด กับ ความคิดพรุ่งนี้ฉันจะรวย. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 14(28), 84 - 105.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ, อรัญ วานิชกร และ ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2562). ศักยภาพอัตลักษณ์ความเป็นไทยของธุรกิจสปาและการนวดแผนไทยเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 1 -16.

จิรภัทร์ พรพรหมประทาน. (2562). การเคลื่อนไหวของแนวคิดการพัฒนาทางเลือกในประเทศไทย (พ.ศ. 2523–2560). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 139 – 154.

เจริญชัย เอกมาไพศาล และพิชชานันท์ ช่องรักษ์. (2562). การสร้างประสบการณ์ผ่านการบริการสปา ด้วยบรรยากาศที่ดึงดูดใจ. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 245 – 266.

ชรินทร์ทิพย์ ดารากร ณ อยุธยา, ธนากร ธนาธารชูโชติ, พงศ์ หรดาล. (2564). กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจสปาในประเทศไทย: Competitive Strategy of Spa Business in Thailand. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(1), 390 – 401.

โซร์ฟีนา เด่นสุมิตร. (2563). เศรษฐศาสตร์แห่งความงาม: ว่าด้วยการลดน้าหนักและการดูแลสุขภาพในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 11(22), 52 – 63.

. (2563). อิสลามโมโฟเบียในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม: ข้อเท็จจริง VS ความกลัว. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 107 – 120.

ธนัชชนม์ แจ้งขำ. (2563). ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ พื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 231 – 245.

ธนิตนดา เศรษฐี. (2562). พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์การบริการและความคาดหวังในคุณภาพบริการร้านสปา และนวดแผนไทยของลูกค้าชาวต่างชาติในเมืองพัทยา (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2565). อุปปลักษณ์ “ตนไผ” ตองลม ‘détente’. วารสารรัฐศาสตร์สาร, 43(3), 137 – 204.

นคเรศ อุดชะยา และ สุรัชนี ยลธะศาสตร์. (2566). การศึกษาศักยภาพการให้บริการสปาล้านนา แบบไทยสับปายะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 227 – 240.

นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินธ์ โตมาชา และ ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2565). การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(3), 281 – 288.

ปานชนม์ โชคประสิทธิ์, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง และ ศิริลักษณ์ วีรสกุล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับบริการด้านสุขภาพและระดับความเจ็บปวดของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานในเกษตรกรสวนยางพารา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 15(3), 1-25.

ปานทิพย์ สวยสม. (2564). เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการสะกิดเพื่อส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้โดยสารรถจักรยานยนต์สาธารณะ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พลแก้ว วัชระชัยสุรพล และอัญชญา ดุจจานุทัศน์. (2563). การพัฒนารูปแบบบริการนวดไทยในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 16(1), 33 – 43.

ภควุฒิ ทวียศ. (2564). แนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการฟื้นฟูอุตสาหกรรมฟอกหนังโดยรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 8(2), 1 – 33.

มนัส พัฒนผล. (2566). บทวิพากษ์อุดมการณ์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.

ศิริวรรณ วรรณศิริ. (2564). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจสปาไทยและนวดเพื่อสุขภาพภายใต้ภาวะวิกฤตโควิด (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การจัดการการตลาดกับแนวความคิดกลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจการบริการ. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2564). เศรษฐศาสตร์การคลังเพื่อสุขภาพ (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพล เศรษฐบุตร, ภาณุพันธุ ประภาติกุล, วรทัศน อินทรัคคัมพร, ณฐิตากานต พยัคฆา, อรกานต ไชยยา และ ณัฐพงศ์ คํากล. (2563). การติดตามและประเมินผลโครงการบริการรับใชสังคมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(3), 480 – 491.

Ahmed, S. A. (2023). The Impact of Innovation Management on Customer Satisfaction in the advertising industry in the Kingdom of Bahrain. International Journal of Green Management and Business Studies, 3(1), 33-53.

Bamidele Segun Ilugbusi & Olawale Adisa. (2024). Behavioral economics in U.S. financial literacy programs: A comprehensive review - Evaluating the role of psychology-driven strategies in enhancing understanding and responsible financial behaviors among citizens. International Journal of Science and Research Archive, 11(1), 2384–2398.

David Arnott & Shijia Gao. (2022). Behavioral economics in information systems research: Critical analysis and research strategies. Journal of Information Technology, 37(1), 80 - 117.

David Wuepper, Shira Bukchin-Peles, David Just, David Zilberman. (2023). Behavioral agricultural economics. Applied Economic Perspectives and Policy, 45(4), 1777 – 2280.

Derek D. Reed, Justin C. Strickland, Brett W. Gelino, Steven R. Hursh, David P. Jarmolowicz, Brent A. Kaplan & Michael Amlung. (2022). Applied behavioral economics and public health policies: Historical precedence and translational promise. Behavioural Processes, 198, 104640.

Greenwood D. J. (1973). The Political Economy of Family Farming: Some Anthropological Perspectives on Rationality and Adaptation. The Rural Development Committee, Center for International Studies, Cornell University.

Holden, S. (2012). Implication of Insights from behavioral economics for macroeconomic models. Working paper for Norges Bank.

Jeff Cain, Michael Behal and Lisa M. Richter. (2024). An Integrative Scoping Review of Behavioral Economics Applications in Higher Education: Opportunities for Academic Pharmacy. American Journal of Pharmaceutical Education, 88(8), 100732.

Julia Puaschunder. (2022). Behavioral Economics. In: Advances in Behavioral Economics and Finance Leadership. Contributions to Economics. Springer, Cham.

Lars P. Syll. (2023). Mainstream economics the poverty of fictional storytelling. Real-world economic review, 103, 61 – 83.

Marwan M. Abdeldayem, Horiyal M. AlDeeb, Ismail Mohamed Sharif, Saeed H. Aldulaimi. (2024). Examining the Impact of Total Quality Management on Competitive Advantage : A Case Study of a Private Company in the Kingdom of Bahrain. Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE). Manhattan: USA.

Michelle Hanlon, Kelvin Yeung, Luo Zuo. (2022). Behavioral Economics of Accounting: A Review of Archival Research on Individual Decision Makers. Behavioral Economics of Accounting, 39(2), 1150 – 1214.

Mongkhon Suebsakul. (2022). Thailand's Access to Healthcare Services: The reflection and inequality of Vulnerable Group. SAU Journal of Social Sciences & Humanities, 6(1), 55 - 69.

Parnchon Chokprasit, Supabhorn Yimthiang & Siriluk Veerasakul. (2022). Predictors of Low Back Pain Risk among Rubber Harvesters. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19, 1-8.

Phoebe, K., Barbara, H., Ulrike, K. & Alina, V. (2023). Annual Review of Resource conomics Behavioral Economics and Neuroeconomics of Environmental Values. Annual Review of Resource Economics, 15, 153-176.

Rouven Reinke. (2023). Power structures in economics and society: Some remarks on the future of non-mainstream economics. Journal of Philosophical Economics, 16, 279 – 309.

Sorfina Densumite. (2020). The Economics of Beauty: Weight Loss & Health Care from a Behavioral Economics Perspective. Economics and Public Policy Journal, 11(22), 52 - 63.

Ronald Ehrenberg, Robert Smith & Kevin Hallock. (2021). Modern Labor Economics: Theory and Public Policy (14th ed.). Routledge.

Zakaria, A., Mohamed, H., Emmanuel, S., Md., A. S., Imran, A. (2023). Artificial Intelligence and Behavioral Economics: A Bibliographic Analysis of Research Field. IEEE Access, 11, 139367-139394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-09-2024