ปัจจัยการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • อภินห์พร จับประยงค์ นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานฉัตร อาการักษ์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ เชื้อเมืองพาน คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานการเงินและบัญชี, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือ โดยประชากร คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านบัญชีในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือ 8 เขต ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน พิษณุโลกและอุตรดิตถ์ โดยผู้วิจัยเลือกประชากรจำนวน 40 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ

     ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการปฏิบัติงานการเงินและบัญชี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี สภาพแวดล้อมการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก     ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความทันเวลา ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความถูกต้อง และมาตรฐาน    การจัดทำบัญชีภาครัฐ แรงจูงใจในการทำงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา     ในเขตภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยการพัฒนาบุคลากรในด้านที่จำเป็น สร้างโอกาสในการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้อง และอาจเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดการข้อมูลและกระบวนการทำงานอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กองบัญชี สำนักงานงบประมาณและ การเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2564). มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ. https://www.accountancy-police.go.th/index.php/content/มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

ชัชรินทร์ ทองหม่อมราม และบุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2565). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของบุคลากรในสำนักงานอัยการภาค 5. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 143-156.

นันท์นภัส รักเดชะ. (2563). คุณลักษณะและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคใต้ของประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พลพธู ปียวรรณ และสุภาพร เชิงเอี่ยม. (2550). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ :วิทยพัฒน์

เพ็ญพิชชา ผลไพบูลย์. (2561). ประสิทธิผลของระบบสารสนเทศทางบัญชีภายใต้ระบบ GFMIS ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทางบัญชี [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รัตกัมพล พันธุ์เพ็ง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเหนื่อยล้าทางจิตใจและสุขภาพของพนักงานโรงงานผลิตเลนซ์ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิวิมล ภิวัฒน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภูเก็ต, 13(1), 195-215.

สกุณา มาอู๋. (2562). ทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ. (2564). มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564. https://shorturl.asia/PAKFg.

Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior. Belmont,CA:Thomson/Wadsworth.

James, L. R., Jones, A. P. (1974). Organizational climate: a Review of Theory and Research. In Psychological Bulletin, 81, 1096-1112.

Kunz, R. (2016). Accounting Practitioners Perspectives of Professional skills and Audit Capabilities of First Year Trainee Accountants. Master of Commerce: Auditing, University of Pretoria.

Millet, John D. (1954). Management yhe Plublic Service. New York: McGraw-Hill.

Towers-clark, J. H. (2016). Are Undergraduate Accounting Students Developing Transferable Skills that Meet Stakeholder Needs? An International Study. Doctoral Thesis, Doctorate University of London.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2024