การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกาบหมากสู่เชิงพาณิชย์ของโรงเรียนชีวิต ณ บ้านสายรุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปลื้มใจ ไพจิตร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ดร.วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์นินธนา เอี่ยมสะอาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • นงลักษณ์ ผุดเผือก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ดร.มนัสชัย รัตนบุรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์, กาบหมาก, จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน และศึกษาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ของโรงเรียนชีวิต ณ บ้านสายรุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวอย่างจำนวน 400 ราย  เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การสุ่มแบบบังเอิญ ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยวชาวไทย ประชาชนในพื้นที่ ซื้อผลิตภัณฑ์จากกาบหมากประเภทของใช้ทั่วไป  เพื่อเป็นของตกแต่ง และของที่ระลึก โดยคาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์กาบหมากจากร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากผู้ผลิตโดยตรง รวมถึงห้างสรรพสินค้า และงานแสดงสินค้าประจำท้องถิ่น ตามลำดับ ราคาที่ยอมรับได้ 100-200 บาทต่อชิ้น ในการเลือกซื้อส่วนใหญ่เลือกที่การสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ สำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ด้วยการถัก จักสานกาบหมากเพื่อขึ้นรูปเป็นของใช้ ซึ่งเน้นขั้นตอนการผลิตที่สามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อความง่ายในขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยี                      เน้นการผสมผสานกับวัสดุกาบหมากกับวัสดุอื่นๆ ทั้งสี รูปแบบ และลวดลายให้เกิดการสะท้อน           ความเป็นเอกลักษณ์และมีความสวยงามสะดุดตาให้แก่ผลิตภัณฑ์ ตามผลการ ด้านวัสดุและกระบวนการผลิต ก่อนที่นำกาบหมากไปผลิตผลิตภัณฑ์ ควรนำกาบหมากไปตากแดดก่อน หรือนำผ้าชุบน้ำ หรือแอลกอฮอล์เช็ดเพื่อกำจัดเชื้อรา แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วเคลือบผิวผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันเชื้อรา และเพิ่มความสวยงาม คำนวณสัดส่วนต้นทุนการผลิตสินค้ามีค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดต่อชิ้นงาน ต้นทุนรวมเฉลี่ย 87.01-284.25 บาท ต้นทุนผันแปร 82.17-272.63 บาท ต้นทุนคงที่ 4.84-11.62 บาท ราคาขาย 119-359 บาท โดยมีกำไร 31.99-111.72 บาท ขึ้นอยู่กับลักษณะชิ้นงาน สำหรับช่องทางการตลาดในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ติดต่อกับทางโมเดิร์นเทรดและการออกแบบเว็บไซด์เพื่อเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ให้แก่กลุ่ม

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2559). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและจังหวัด พ.ศ. 2559. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

แก้วมณี อุทิรัมย์และคณะ. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ตีนแดง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 12(2), 116-124.

ชนิดาภา มาตราช และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2559). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ “ลายฟองน้ำหัวฝ่าย” ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 3(2), 209-222.

ณธกร อุไรรัตน์. (2560). การศึกษาเพื่อการพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจิตรศิลป์, 8(1), 165-202.

ฐปนัท แก้วปาน สราวุธ อิศรานุวัฒน์, และ จริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-182.

ธมยันตี ประยูรพันธ์ นันทพร โกสิยาภรณ์ และสมเกียรติ สุทธิยาพิวัฒน์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาช่องทางการตลาด และการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตภาชนะกาบหมาก กรณีศึกษากลุ่มพลังสตรีวิถีชาวพร่อน. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(3), 452-464.

นภิสา ไร่แตง รัตนาวลี อุดใจ ชลกร ภูกัน และกัสมา กาซ้อน. (2565). ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาเสื่อกก บ้านสมบูรณ์ดี ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(2), 44-55.

ปรางค์ทิพย์ มีศิลป์ และกัสมา กาซ้อน. (2565). การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เนคไทลายชาติพันธุ์อาข่า ในตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 16-30.

ผกามาศ มูลวันดี. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอเสื่อกกของกลุ่มสตรีในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 12(1), 8-16.

พระครูปริยัติคุณรังษี (ลิขิต คำหงษา) พัทธนันท์ นวลน้อย และเอกลักษณ์ คงทิพย์. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาช่องทางการตลาด และการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตภาชนะกาบหมาก กรณีศึกษากลุ่มพลังสตรีวิถีชาวพร่อน.วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(2), 883-894.

เยาวลักษณ์ สุวรรณแข ก้องเกียรติ บุญช่วย ลัดดา ประสาร ธีระ ราชาพล และพินิจ ดวงจินดา. (2566). การศึกษาบริบทชุมชนเพื่อการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผลิตภัณฑ์แบรนด์ “กาหลง” : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเตาะหมากบ้านทุ่งพัก ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1), 77-92.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2564). วิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาธุรกิจชุมชนโดยใช้ฐานคิดการตลาด สมัยใหม่ 3.0. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 11(3), 379-395.

สุทธดา ขัตติยะ ประภาพรรณ ไชยานนท์ และศศิวิมล ภู่พวง. (2566). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 1-20.

สุพะยอม นาจันทร์ ปทุมพร หิรัญสาลี จุไรรัตน์ ทองบุญชู วรกร ภูมิวิเศษ และลักขณา ดำชู. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. มนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (Poster 926). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สุภา จุฬคุปต์. (24 กรกฎาคม 2560). ผลิตภัณฑ์จากกาบหมากช่วยสร้างอาชีพให้ชุมชน. ไทยโพสต์, 24.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2559. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

อาชัญ นักสอน. (2559). กระบวนการออกแบบและพัฒนา ชุดอุปกรณ์สำหรับการบริโภคข้าวเหนียว. วารสารศิลปกรรมสาร, 11(2), 101-133.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2024