การรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยาของประชาชนเมืองพัทยาและนักท่องเที่ยวชาวไทย
คำสำคัญ:
การเปิดรับข่าวสาร, การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร, นักท่องเที่ยว, เมืองพัทยาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความต้องการข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยาของประชาชนเมืองพัทยาและนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากร ที่อาศัยอยู่ในเมืองพัทยาและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ Chi-Square F-Test/One-Way ANOVA และ Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเขตเมืองพัทยา เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,000 - 20,000 บาท อาศัยอยู่ในเมืองพัทยา 5 ปีขึ้นไป มีความต้องการข่าวสารเกี่ยวกับเมืองพัทยาประเภทสื่อออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook ต้องการเนื้อหาด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเกี่ยวกับกิจกรรม ตามประเพณี ในส่วนการรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยา ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับและความต้องการข่าวสารเกี่ยวกับเมืองพัทยา แตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยา โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
ประภาศรี สวัสดิ์อําไพรักษ์. (2562). ความหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์.: https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit8/Subm1/U811-1.htm.
ปิยะรัตน์ หลิวจันทร์พัฒนา. (2548). การสื่อสารในองค์การ บริษัท เอ็กซ์ปิไดเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชัย นิรมานสกุล. (2554). พฤติกรรมการท่องเที่ยว การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์ และการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้า.
ภัทรา เรืองสวัสดิ์. (2553). รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เมืองพัทยา. (2566). การทบทวนแผนพัฒนาเมืองพัทยา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ครั้งที่ 1/2566. พัทยา: สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ เมืองพัทยา.
. (2565). ABOUT US PATTAYA EVENTS. https://www.pattayacityevents.com/TH/ about.html.
รุจิรา ภวันตา. (2564). การรับรู้ภาพลักษณ์จังหวัดเชียงใหม่และการแสวงหาข้อมูล เพื่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ลักษณา สตะเวทิน. (2542). งานประชาสัมพันธ์กับการสร้างชื่อเสียงองค์กร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ :กรุงเทพฯ.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิจิตร อาวะกุล. (2539). การประชาสัมพันธ์หลักและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
ศศิธร บุญเลิศ. (2567). พฤติกรรมการซื้อ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความคาดหวัง และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ภูมิพฤกษาของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1), หน้า 12 - 30.
สมชาติ สุกฤตยานันท์. (2533). ความสัมพันธ์ของการแสวงหาข่าวสารด้านการท่องเที่ยว กับการตัดสินใจ เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม. (2548). กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสรี วงษ์มณฑา. (2541). 108 การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์ อินบิสซิเนส เวิร์ค.
อำนวย เพชรวิจิตรภักดี. (2552). การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก
Dowling, Grahame. (2001) Creating Corporate Reputations Identity, Images, and Performnce. New York: Oxford University Press.
Fombrun CJ. (1996). Reputation: Realising value from the corporate image. Massachusetts: Harvard Business School Press.
InsightERA. (2023). DIGITAL 2023 THAILAND. https://www.insightera.co.th/digital-2023-thailand [2023, 15 กุมภาพันธ์].
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press.
Mgronline. (2564). ประเทศที่มีอิทธิพลด้านมรดกวัฒนธรรม.https://mgronline.com/uptodate/ detail/9640000016223 [2564, 18 กุมภาพันธ์].
Nguyen, T.D. & Barret, J.N. (2006). The adoption of internet by export firms in transitional markets. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 18, p.29-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร