จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย
คำสำคัญ:
จรรยาบรรณ, ความน่าเชื่อถือ, งานสอบบัญชีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือในงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปร คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน หาค่าอิทธิพลของตัวแปรใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัย พบว่า จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีด้านความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระพฤติกรรมทางวิชาชีพ และความโปร่งใสมีอิทธิพลทางบวกต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชี ด้านความเป็นจริงของข้อมูล และตรวจสอบได้ ด้านความเป็นกลาง ด้านศักยภาพในการสอบบัญชี และด้านความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีที่ระดับนัยสำคัญ .05 อย่างไรก็ตาม ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะปฏิบัติหน้าที่ตามหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการสอบบัญชี เหล่านี้เป็นข้อกำหนดที่ผู้ตรวจสอบควรปฏิบัติตาม รายงานการตรวจสอบ และรับรองบัญชีที่แสดงในงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในรูปแบบข้อมูลที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้งบการเงินและสะท้อนถึงคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งบการเงินอย่างยั่งยืน
References
ชัชฌานันต์ บุณาพันธ์. (2564). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1376–1391.
ชัยนรินทร์ วีระสถาวณิชย์. (2548). International Education Standards (IES). สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 1(4), 1.
ชูศักดิ์ เพชรกระจ่าง. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมวัฒนธรรมองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 62-74.
นวพร ขู้เปี้ยเต้ง และจันทร์ลอย เลขทิพย์. (2561). ความรู้ความสามารถที่มผี ลกระทบต่อคุณภาพการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย (ในมุมมองของผู้รับการตรวจสอบ). วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(2), 170-181.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงศ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความสำเร็จในการสอบบัญชี เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตภาคใต้. สาขาวิชาบัญชี. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (วิทยาเขตวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์).
เยาวนาถ หมานหมุ้ย. (2558). ผลกระทบของจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีต่อประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน และคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ [วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2561). คุณภาพงานสอบบัญชี. http://www.fap.or.th › upload › PJOZaYjeUo.
สุจิตตรา แสนชัย. (2560). ผลกระทบของจริยธรรมทางวิชาชีพบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Novie Susanti Suseno. (2013). An Empirical Analysis of Auditor Independence and Audit Fees on Audit Quality. International Journal of Scientific & Technology, 3(3), 81–87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร