ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
ความรู้ความสามารถ, ทักษะความเป็นมืออาชีพ, จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี, การทำงานที่มีประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออก 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออก จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยที่มีต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสำรวจข้อมูลจากนักบัญชีในภาคตะวันออก จำนวน 384 ราย โดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอ้างอิง
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออกที่เรียงลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้ 1) ความรู้ความสามารถ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ( = 4.36) 2) ทักษะความเป็นมืออาชีพ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ( = 4.25) และ 3) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) ตามลำดับ
ผลการเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออก พบว่า จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของนักบัญชีในภาคตะวันออกในภาพรวม ด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งงานในปัจจุบัน และประสบการณ์การทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะความเป็นมืออาชีพ และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี มีผลกระทบ เชิงบวกต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในภาคตะวันออก
References
กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม. (2564). จำนวนว่างงานกรณีลาออกจากงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 ปี พ.ศ. 2558-2563. https://www.sso.go.th.
แคทรียา วันวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จํากัด.
นริศรา วัฒนศัพท์. (2564). สมรรถนะของนักบัญชีที่มีอิทธิพลต่อปัญญาประดิษฐ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ผกาวดี นิลสุวรรณ (2563). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดทำงบการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี [การค้นคว้าอิสระบัญชีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และปวีนา กองจันทร์.(2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(1).1926-1942
ศิริขวัญ เบ็ญจกรรณ์. (2562). ผลการใช้รูปแบบการสอนการคิดแก้ปัญหาอนาคตที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา,10(2) : 479-494.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). ทักษะวิชาชีพบัญชี. https://www.tfac.or.th.
_______. (2564.) การเรียนรู้ทางบัญชี. https://www.tfac.or.th.
สุกริน ทวีสุต. (2562). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรเทศบาลนครหาดใหญ่ [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสมดุลในการทำงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
Andrijana R. & Ivana P. (2022). Affective professional commitment and accounting ethics principles: examining the mediating role of the code of ethics. Economic Research-Ekonomska Istrazivanja, 1-19.
Carmen, B., & Jiri, S. (2022)./Accounting Ethics: Some Research Note. Recent Researches in Applied Mathematics and Economics. https://doi.org/10.1080/1331677X. 2022.2077791, 138-143.
David, M., & Sutton, C. (2011). Social Research: An Introduction. (2nd ed.). SAGE Publications
Nunnally, J., C., & Bernstein, I., H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York, NY: McGraw.
Peterson, E., & Plowman, E., G. (1989). Business organization and management. Homewood.
Qvortrup, A. (2016). On the Definition of Learning. Denmark : University Press of Southern Denmark.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร