อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ

ผู้แต่ง

  • มนณกร เลิศคำ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต  คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิริรัตน์  ถึงการ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปวีณา  กัณตา นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต  คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • อนงค์  อินตา นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • อรวรรณ เชื้อเมืองพาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ราคาหลักทรัพย์, กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ, อัตราส่วนทางการเงิน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 จำนวน 198 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  

          ผลการวิจัยพบว่าอัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลเชิงบวกต่อราคาหลักทรัพย์ อาจเป็นเพราะว่าการระดมเงินที่มาจากในส่วนของหนี้สินจะดีกว่าที่มาจากส่วนของผู้ถือหุ้นเนื่องจากสามารถประหยัดภาษีได้และเจ้าหนี้มีการกำกับดูแลที่ดีกว่าและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญของนักลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูง และพบว่าอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวมนั้นส่งผลเชิงลบต่อราคาหลักทรัพย์ แสดงให้เห็นถึงหนี้สินที่ได้กู้ยืมมานั้น ไม่ได้เป็นการกู้ยืมมาเพื่อการขยายกิจการหรือการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มแต่อาจเป็นการกู้ยืมมาเพื่อชำระหนี้หรือการขาดสภาพคล่องของกิจการ

References

ขวัญนภา เศิกศิริ, สมใจ บุญหมื่นไวย และธนภณ วิมูลอาจ. (2561). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารชุมชนวิจัย, 12(2), 71-84.

จิรัญญา ตาวงษ์. (2563). อิทธิพลของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร: การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เจนจิรา จันทร์ทอง และพรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน นโยบายการจ่ายเงินปันผลกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(3), 371-383.

ชาลินี แสงสร้อย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชุดาพร สอนภักดี และทาริกา แย้มขะมัง. (2564). อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 151-164.

ชุดาพร สอนภักดี, ญาณิศา ทองโปร่ง, ธันยพร วิศรียา, วิมลณัฐ พวงประทุม, และศุภิสรา ศิรินาวี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(2), 45-57.

ฐานเศรษฐกิจ. (2561). บทบาทของภาคบริการในการพัฒนาประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ฉบับที่ 3342. https://www.thansettakij.com

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). คู่มือ (Manual Guides). https://media.set.or.th/set/Documents/2022/Mar/SET_Formula_Glossary.pdf

. (2567). กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. https://www.set.or.th/ market/get-quote/stock/

ธิดารัตน์ คีรีตา, โค้ชการเงิน, (2563). 2 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อสถานะการเงินส่วนบุคคล.https://www. add - money.net/th/detail.

ปุญญิศา รัตนคำ. (2564). ปัจจัยทางการเงินและความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิจักษณ์ จันทวิโรจน์, กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์, ไขแสง ขุนพาสน์, เบญจมาศ ปานชัย และวิทยา อรุณศิริเพ็ชร. (2566). อัตราผลตอบแทนที่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจบริการ. สยามวิชาการ, 24(2), 52-66.

ภาณุพงศ์ ตรีสกุลพงษ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ภาวิณี เดชศิริ และณกมล จันทร์สม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหมวดธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

วรัญญา ณ ราชสีมา, ณัฐวิภา กิติวุฒิชูศิลป์, ชลิตา เสนสิทธิ์, พิจิตรา มิตรสันเทียะ, อรสา จันทร์อ่อน, พงษ์สุทธิ พื้นแสน และนงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(2), 52-64.

วิไลลักษณ์ แสงสุวรรณ. (2564). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิวัช จันทรโชติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์กรณีศึกษา: กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิวัช จันทรโชติ, สุรนัย ช่วยเรื่อง และดลินา อมรเหมานนท์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.บทความวิจัยบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุลีพร คำเครื่อง และเบญจพร โมกขะเวส. (2564). อิทธิพลของสภาพคล่องและความสามารถในการบริหารหนี้สินที่มีต่อราคาหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 171-188.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2560). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน. หลักสูตรที่ปรึกษาการลงทุนตราสารทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สิริกานต์ แก้วกำพฤกษ์, นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ, ฐานกุล กุฏิภักดี และศิษฏ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM) และหมวดธุรกิจโลจิสติกส์(TRANS) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17), 77-91.

โสภณ บุญถนอมวงศ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกําไรและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัศวเทพ อากาศวิภาต. (2566). อิทธิพลของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(2), 261-290.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision marking. (4th ed.). USA: John wiley & Sons. pp. 585.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-04-2024