การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์โกโก้ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนโกโก้เชียงราย

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรลักษณ์ วรรณโล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกุล อินทกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์โกโก้, การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม, ประเมินความคุ้มค่า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์โกโก้ และประเมินความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์โกโก้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการสัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มย่อยเกษตรกรผู้ปลูก ผู้แปรรูป และผู้จำหน่ายโกโก้  จำนวน 15 ราย พื้นที่ปลูก 7 ไร่ จำนวน 750 ต้น เก็บข้อมูลกระบวนการผลิตโกโก้ ต้นทุนการผลิตขั้นต้น ราคาขายของผลผลิตทั้งระบบการปลูกโก้โก้ คือ ผลโกโก้สด เมล็ดสด น้ำโกโก้สด เมล็ดแห้ง โกโก้นิบส์ ผงโกโก้นิบส์ เปลือกเมล็ด โกโก้แมส ช็อกโกแลตบาร์ และเครื่องดื่ม กลุ่มย่อยเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำต้นแบบวิธีการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์โกโก้ และวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มและประเมินความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์โกโก้ ผลการศึกษาการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม ปริมาณผลผลิต ต้นทุน ราคาขาย กำไรขั้นต้น และมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอนการแปรรูปผลผลิตโกโก้ กรณีที่เกษตรกรดำเนินการผลิตเอง ในเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโกโก้เชียงราย การคำนวณมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอน พบว่าจากผลโกโก้สด 100 กก. เมื่อนำมาแปรรูปจนได้เป็นโกโก้นิบส์ และผงโกโก้นิบส์ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ 207.60 ถึง 247.72 (% ของผลสด) แปรรูปเป็นโกโก้แมสนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม ช็อคโกแลตบาร์พร้อมบริโภค สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงถึง 294.80 ถึง 1,098.25 (% ของผลสด) และน้ำโกโก้สดที่แยกได้จากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ ระหว่างการแกะผลโกโก้เพื่อแยกเมล็ดก่อนกระบวนการหมักพบว่า ถ้าหากเกษตรกรสามารถจำหน่ายน้ำโกโก้สดได้ในราคา 80 บาท/กก. สร้างมูลค่าเพิ่มได้ 9.54 (% ของผลสด) และหากนำน้ำโกโก้สดไปแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ไซรัปโกโก้ สามารถจำหน่ายได้ในราคา 1,500 บาท/กก.สร้างมูลค่าเพิ่มได้ 24.43 (% ของผลสด) การนำวัสดุเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูปมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตโกโก้สด และสร้างความยั่งยืนในระบบการผลิตโกโก้ ส่วนการประเมินความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์โกโก้ โดยพิจารณาการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลทางบัญชี ที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพที่่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลข และวัดเป็นจำนวนเงินไม่ได้         เช่น สภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สภาพของการแข่งขัน ความร่วมมือของพนักงาน ความสัมพันธ์        ของกิจการกับลูกค้า เป็นต้น และข้อมูลเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข วัดเป็นจำนวนเงินได้จาก          การจดบันทึกทางการบัญชี เช่น รายได้ ต้นทุนต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูล         เชิงปริมาณที่ใช้ในการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม และประเมินความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์โกโก้ ประกอบด้วย     การเลือกอายุเฉลี่ยการใช้งานของสินทรัพย์ การเลือกวิธีการได้มาซึ่งต้นกล้าพันธุ์ และการตัดสินใจ      เลือกการวิธีการได้มาของวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต คือ การนำผลสดโกโก้เข้าสู่กระบวนการผลิต     ด้วยวิธีการใช้ทางเลือกระหว่างการซื้อผลสดมาเพื่อดำเนินการผลิต หรือการดำเนินการผลิตเองทั้งระบบ

References

โกโก้ herbdoa . December 22, 2014. ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช. สืบค้นจาก http://hort. ezathai.org /?p=3991, 2566.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. (2544). แนวคิดเกี่ยวกับผลตอบแทน. สืบค้นจาก. สืบค้นจาก http://www.cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/28291/5/agim40356am_ch2.pdf.

ภาณีณัท วัฒนจินดา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายบัญชีเรื่องการคิดค่าเสื่อมราคาของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สืบค้นจาก http:// www.dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789.pdf.

วิสาหกิจชุมชนโกโก้เชียงราย. (2566). ข้อมูลผลผลิตโกโก้. สืบค้นจาก https://www.facebook.com

สถาบันวิจัยพืชสวน. (2564). การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิตโกโก้. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยพืชสวนชุมพร.(2566). สถานการณ์การผลิตโกโก้. สืบค้น จาก https://www.doa.go.th/hort/ wp- conten

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 37/2560 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง เกษตรกรรม. สืบค้นจาก https://www. tfac.or.th /upload/9414/oqAh6SRiPV.pdf.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2540) . ความหมายต้นทุน. สืบค้นจาก http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream /6653943832/28291/5/agim40356am_ch2.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกโกโก้จังหวัดหนองคาย.สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/nongkhai-dwl-files-451991791263, 2566.

สุชีลา เลาหศิริ. (2530). ต้นทุนและรายได้จากการปลูกโกโก้เป็นพืชแซมในสวนมะพร้าว. สืบค้นจาก https:// www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1030009.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting). กรุงเทพฯ : ซีเอ็นยูเคชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023