ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ของผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

ผู้แต่ง

  • ทิวาพนัส จุ่มใจ นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศฐา วรุณกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลชญา แว่นแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดลยา ไชยวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ , การบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบเล็กทรอนิกส์, กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ของหน่วยงาน ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 135 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ของผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านบุคคลในขณะที่ปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบบริหารการเงิน    การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ของผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้แก่ปัจจัยโครงสร้างองค์กร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

เกษวลี สังขทิพย์. (2556). การปรับโครงสร้างองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการเงินและการบัญชีขององค์กรอิสระ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จารุกัญญ์ คำพรม. (2565). สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานระบบการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เฉพาะระบบการเงินและบัญชี กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม (บริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จีรพัตร นพรัตน์. (2560). อิทธิพลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS ของกองทัพภาคที่ 3 (บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธนมลวรรณ เจนธนสาร และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFIMS) ของกรมปศุสัตว์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 77-96.

เมทินี จันทร์กระแจะ. (2558). คุณภาพของระบบสารสนเทศปละการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมใจ แสนโคตร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ในการบริหารจัดการทางการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,14(1),201-204.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, ยุทธพงษ์ จักรคม, ปัณณวิชญ์ นาคนทรง, ปรารถนา มะลิไทย, อธิพงษ์ ภูมีแสง, ทินวุฒิ วงศิลา และRobby Rosandi. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในยุคภาวะพลิกผัน. วารสารการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม,13(1),134-153.

Certo, Samuel C. (2000). Modern management. New York: Prentice - Hall.

Peterson, E., and Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023