สภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้บริการ ความต้องการ และการตัดสินใจใช้บริการ ซัก อบ รีด เชิงอุตสาหกรรม ในเขตเมืองพัทยา

ผู้แต่ง

  • ศิวยาภรณ์ บุญชั้น นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

สถานประกอบการ, สภาพปัญหา, พฤติกรรมการใช้บริการ, ความต้องการ, การตัดสินใจใช้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสถานประกอบการกับ สภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้บริการ ความต้องการและการตัดสินใจใช้บริการ ซัก อบ รีด เชิงอุตสาหกรรมในเขตเมืองพัทยา โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบสำรวจ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่าง จำแนกผลการเก็บสถานประกอบการณ์ดังนี้ โรงแรม 185 แห่ง สปา 66 แห่ง พูลวิลล่า 68 แห่ง บริษัทอสังหาริมทรัพย์ 11 แห่ง คอนโด 15 แห่ง  รีสอร์ท 48 แห่ง โรงเรียน 5 แห่ง โรงงาน 2 แห่ง และเก็บกลุ่มตัวอย่างจริงผ่านธุรกิจบริการซัก อบ รีด เชิงอุตสาหกรรมในเขตเมืองพัทยา จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1) Laundry Express 2) TT&K Laundry Service 3) WC Laundry 4) Laundry Pattaya 5) ยินดีปรีดา ลอนดรี้ จำกัด 6) ธาราเซอร์วิส 7) QC Laundry ผลการวิจัยพบว่า ประเภทสถานประกอบการที่ใช้บริการมากที่สุดคือโรงแรม พบสภาพปัญหาในการใช้บริการมากที่สุดคือ ด้านทักษะภาษาในการสื่อสาร พฤติกรรมการใช้บริการพบว่า เหตุผลในการใช้บริการคือผ้าสะอาดกว่าซักเอง ความถี่ในการใช้บริการคือมากกว่า 10 ครั้งต่อเดือน และเป็นผ้าที่ต้องการใช้แบบวันต่อวัน ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการแบบซัก อบ และรีด ในส่วนของความต้องการให้ธุรกิจ ซัก อบ รีด เชิงอุตสาหกรรมในเขตเมืองพัทยามีมากที่สุดคือด้านกระบวนการ การติดตามสถานะการทำความสะอาดผ่านแอพพลิเคชั่นแบบ Real time และการตัดสินใจใช้บริการมากที่สุดคือ ความเชื่อมั่นในวัสดุและน้ำยาเคมีรวมถึงความเชี่ยวชาญการดูแลผ้าเพื่อยืดอายุการใช้งาน ดังนั้นการที่ผู้ประกอบธุรกิจซัก อบ รีด เชิงอุตสาหกรรมในเขตเมืองพัทยา จะได้ทราบถึงข้อมูลในการนำไปพัฒนากระบวนการตามความต้องการของลูกค้า จะช่วยยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาสทางการตลาดมากยิ่งขึ้น

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

นิติยากร กุลสิงห์. (2559). การจัดการกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในธุรกิจซัก อบ รีด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี จำกัด.

ภัทรวดี กฤตรัชตนันต์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ของประชาชนในจังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิวรรณ ฉิ่นไพศาล และวิมลพรรณ อาภาเวท. (2563). ความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้านซักอบรีด ในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร. 5(1), 9–18.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). กลยุทธ์การตลาดการบริหารการตลาดและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.

ศุภกร เสรีรัตน์. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ.อาร์ บิสซิเนสเพรส จำกัด.

สรศักดิ์ สหชัยรุ่งเรือง และศักดิ์ชาย จันทร์เรือง. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความไว้วางใจและขั้นตอนการตัดสินใจซื้อวัสดุก่อสร้างที่นำเข้าจากประเทศจีนของผู้ซื้อวัสดุก่อสร้างใน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 53–66. https://doi.org/10.14456/mjba.2020.4.

โสภาพรรณ ซอหะซัน. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการซัก อบ รีด ที่ตั้งในมทร.ธนบุรี. รายงานวิจัยสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

อภินันท์ จันตะนี. (2550). สถิติและการวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อัญชลี ปุณณกะศิริกุล. (2552). พฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกใช้บริการซัก อบ รีด ของผู้บริโภคเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Cochran, W.G. 1953. Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Plus, T. (2023). พัทยาเมืองท่องเที่ยวระดับโลกเมืองแห่งโอกาสที่ยังดีกว่านี้ได้. สืบค้น 14 December 2023, จาก https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/103223

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-03-2024