การแสวงหาข่าวสาร ความต้องการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ วิยะกูล นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริยา รินรัตนากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การแสวงหาข่าวสาร, ความต้องการ, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, กลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสวงหาข่าวสาร ความต้องการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากร อายุ 26-58 ปี ที่เคยซื้อหรือกำลังพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์มือสอง จำนวน 400 คน ที่อยู่ในกลุ่มแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง      แบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติไคสแควร์ สถิติ F-test/One-Way ANOVA และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-43 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ที่ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่สนใจรถยนต์มือสองยี่ห้อ ฮอนด้า ส่วนใหญ่แสวงหาข่าวสารรถยนต์มือสอง ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทางเว็ปไซต์ 3-4 ครั้ง/เดือน น้อยกว่า 1 ชม./ครั้ง ในช่วงเวลา 16.01-20.00 น. (เย็นถึงหัวค่ำ) และส่วนใหญ่แสวงหาข่าวสารรถยนต์มือสองผ่านสื่อออฟไลน์ทางการออกบูธ 1-2 ครั้ง/เดือน 1-2 ชม./ครั้ง ในช่วงเวลา 16.01-20.00 น. (เย็นถึงหัวค่ำ) ต้องการซื้อรถยนต์มือสองผ่านเต็นท์รถยนต์มือสอง ประเภทรถเก๋ง/รถซีดาน สีขาว เครื่องยนต์ 2,001 cc.-2,500 cc. น้ำมันดีเซล ราคา 300,001-600,000 บาท จำนวนปีรถยนต์มือสอง 2-3 ปี เพื่อใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน ระยะเวลาการผ่อน 4-5 ปี ให้ความสำคัญปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์มือสอง ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า มีการให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด การตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองพบว่า ตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองเพื่อใช้เป็นรถยนต์สำรอง อยู่ในระดับมากที่สุด

          ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1) ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์มือสองแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีความต้องการซื้อรถยนต์มือสองแตกต่างกันแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับรถยนต์มือสอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสอง โดยรวม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเป็นผลเชิงบวก

References

กิตติฐิตา กัญจน์โชติหิรัญ. (2561). ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ขจรศักดิ์ ธีระทวีสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้ารูปแบบดิจิทลของประชากรในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จตุพล จันทร์ผ่อง. (2554). การตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์. (2550). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรัสย์ ธีระพัฒน์ธัชกร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จุมพล รอดคำดี. (2561). ประธานกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. บรรยายพิเศษ.

ญาณี อุรพีพล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมือสองในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). จับตาปี 2566 ตลาดรถยนต์มือสองขยายตัว บูมแพลตฟอร์มออนไลน์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.thansettakij.com/motor/motor/551998 [2566, 23 มกราคม].

ดวงพร หมวดมณี. (2553). การแสวงหาข้อมูลข่าวสารและความคาดหวังของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพการพิมพ์.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

พชร ไฉนงุ้น. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์มือสอง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 9. หน้า 1-16.

สุนทรี พัชรพันธ์. (2541) รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านค้าสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน เขตเมืองและชานเมืองของกรุงเทพมหานคร . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.

อลิสรา รุ่งนนทรัตน์ ชรินทร์สาร. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ: ต่อให้ติดใกล้ชิดผู้บริโภค ในโลกไร้รอยต่อ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023