พฤติกรรมการซื้อ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความคาดหวัง และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ภูมิพฤกษาของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการซื้อ, การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า, ความคาดหวังต่อผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความคาดหวังและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ภูมิพฤกษาของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย เป็นการศึกษาเชิง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากรเพศชายและเพศหญิง อายุ 25-76 ปีขึ้นไป ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ตราสินค้าภูมิพฤกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จำนวน 400 คน ที่อยู่ในกลุ่มแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ F-test/One-Way ANOVA เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรและ Regression Analysis เพื่อทดสอบการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง รองลงมาคือ เพศชาย มีอายุระหว่าง 25-40 ปี การศึกษาอยู่ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ที่ 15,000-25,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่สนใจหมวดดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ (เช่น แชมพูสระเปลี่ยนสีผม,แชมพูสระผม,ครีมหมักผม) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตราสินค้าภูมิพฤกษา ด้านคุณสมบัติ มีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ความคาดหวังต่อผลิตภัณฑ์ตราสินค้าภูมิพฤกษา ด้านผลิตภัณฑ์พบว่า มีการรับรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ตราสินค้าภูมิพฤกษา ด้านการค้นหาข้อมูลข่าวสาร พบว่ามีการให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก
References
กัญญ์พิชา วรไพสิฐกุล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังของผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องดื่มพร้อมดื่มที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กานต์พิชชา เก่งการช่าง. (2556). เจนเนอเรชั่นวายกับความท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล.วารสารสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์, 2(1), หน้า 15 - 16.
กิติยาภรณ์ อินธิปีก. (2562). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยชุมชนมีส่วนร่วม ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด.
ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐวุฒิ สง่างาม. (2554). การสร้างแบรนด์ด้วยการตลาดสีเขียวของกระดาษไอเดีย กรีน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นฤมล เสร็จกิจ. (2564). ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทยของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปีเตอร์ รักธรรม. (2559). เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์.
พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2551). คุณลักษณะของบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพ ความพึงพอใจในงานกับความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภรภัทร ธัญญเจริญ. (2564). พฤติกรรมการเปีดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชัน Tiktok. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภัสสราณัฐ รวยธนาสมบัติ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้า ผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในแต่ละเจเนอเรชั่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
วิภาดา มุกดา. (2561). ปัญหาจากการรับรู้และความคาดหวังในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ.
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12 (1), หน้า 200.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). นักประชาสัมพันธ์กับงานประชาสัมพันธ์ ในเชิงปฏิบัติยุคสารนิเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2543). คุณภาพในการบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์มและไซเท็กซ์.
Fillgoods. (2564). เจาะพฤติกรรมผู้บริโภค 4 เจนเนอเรชั่น ให้ผู้ประกอบการวางแผนการตลาดสร้างยอดขายทะลุเป้า (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.fillgoods.co/online-biz/shop-orders-focus-on-behavior-4-generations-marketing-plan [2566, 5 ธันวาคม].
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice- hall.
(2012). Marketing Management: Defining Marketing for the 21st Century (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall International, Inc.
Kotler, P., & Dupree, J. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control, Test Item File. New York: Prentice Hall.
Mediadonuts.com. (2566). สรุป 5 รูปแบบโฆษณาหลักของ ติ๊กต๊อก (Tiktok) โอกาสใหม่ที่นักโฆษณาทุกคนจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อให้แบรนด์ได้สร้างสรรค์การสื่อสารที่แปลกใหม่ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://mediadonuts.com/daat-day-tiktok/ [2566, 5 ธันวาคม].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร