โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานและคุณภาพกำไรของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
โครงสร้างผู้ถือหุ้น; คุณภาพกำไร; ผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยศึกษาข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 รวม 222 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทิศทางลบ แสดงให้เห็นว่าหากบริษัทมีโครงสร้างการถือหุ้นของภาครัฐ จะทำให้บริษัทนั้นมีผลการดำเนินงานลดลง เนื่องจากลักษณะการดำเนินงานของภาครัฐมีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมและประชาชนเป็นหลัก
References
กาญจนา ประกอบแสง และพัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2560). กลไกการกำกับดูแลกิจการ ความสัมพันธ์ ทางการเมืองกับคุณภาพกำไร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99), 1-15
จันจิรา ขยันการ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและมูลค่าหลักทรัพย์: กรณีศึกษากลุ่มประเทศสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชญาดา จวงสังข์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับคุณภาพกำไรของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไชยศักดิ์ พรก่่าศุภะไพศาล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของกับอัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทประกันชีวิต. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ฐิติพร โตรอด. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้น กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัณณวัฒน์ วังอนุสรณ์ และคณะ. (2565). ทฤษฎีตัวแทน: ความท้าทายในการบริหารงานธุรกิจในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 4(1), 1-22
ปิยานันทน์ ณัฐรุจิโรจน์ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบันและสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นหน่วยงานรัฐบาลกับผลการดำเนินงานของบริษัท. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 1-16
วรปรียา ช้างเอก. (2563). โครงสร้างผู้ถือหุ้นและการกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อผลการดำเนินงาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 1-13
ศิรินาถ เบ้าหล่อเพ็ชร และคณะ. (2564). คุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 1-19
สุขศรี บุตรวงศ์. (2561). ผลกระทบโครงสร้างเงินทุนและกระแสเงินสดที่มีต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อภิญญา จุ้ยด้วง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Fama & Jensen. (1983). Separation of Ownership and Control. Journal of Law and Economics, 26(2), 301-325. Corporapions and Private Property: A Conference Sponsored by the Hoover Institution.
Jensen & Meckling. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behavior,Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3, 305-360.
Jones, J. J. (1991). Earnings Management During Import Relief Investigations. Journal of Accounting Research, 29(2), 193-228.
Lestari Azwardi and Wahyudi. (2020). The Effect of Foreign Ownership and Managerial Ability on Earning Quality with Committee Audit as Moderating Variable. (Thesis Accounting and Finance Sriwijaya University), Palembang, Indonesia.
Manh Dung Tran and Ngoc Hung Dang. (2021). The Impact of Ownership Structure on Earnings Management: The Case of Vietnam. SAGE Open Jaly-September 2021, 1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร