อิทธิพลของการวางแผนภาษีและการบริหารกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันเพ็ญ กลิ่นพานิช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • กมลทิพย์ มอรี่ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • กัญญาภัทร์ ผู้น้อย สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • กานต์รวี เจือมณี สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ทอฝัน ขันธศักดิ์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ปรชนก กุลพล สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การวางแผนภาษี การบริหารกำไร มูลค่ากิจการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายงานประจำปีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563-2565 รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 210 บริษัท เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่า ในปี2563 และ 2565 การวางแผนภาษีมีอิทธิพลต่อมูลค่าของกิจการอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในปี 2564 กลับพบว่า การวางแผนภาษีไม่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของกิจการอย่างมีนัยสำคัญ และในด้านบริหารกำไรในปี 2563-2565 พบว่า การบริหารกำไรไม่มีอิทธิพลต่อมูลค่าของกิจการอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้อาจมีความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์และการวางแผนภาษีสำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคตและอาจช่วยในการตัดสินใจการลงทุนและการบริหารกำไรของบริษัทในอนาคตด้วยเสถียรภาพและความมั่นคงของข้อมูลและวิเคราะห์ที่ถูกต้องและทันสมัย

References

กรรณิกา ศรีบุญเรือง และ จิราพัชร สุทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่ากิจการ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ . วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(3), 1-16.

ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. (3 กรกรฎาคม 2566). หนังสือพิมพ์รายวันข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. จาก https:// www.kaohoon.com/news/614170

เจนจิรา ศรีประไพ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม และ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม. (2562). กฏหมายบัญชี ภาษีอาการ. กรุงเทพมหานครฯ: วิญญูชน.

ฐิติรัตน์ จิตต์คำ และ ชนิดา ยาระณะ. (2565). ความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและการบริหารกำไรกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก เอ็ม เอ ไอ (MAI). วารสารวิชาชีพบัญชี, 18(58), 29-52.

สริดา ตั้งมนัสสุขุม. (2561). อิทธิพลของการจัดการกำไรต่อกำไรส่วนที่เหลือ กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET100). (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์ และ พัทธยศ เดชศิริ. (2561). ผลกระทบของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลกับมูลค่าของกิจการ :หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 38(3), 1-13.

สุพรรษา พรมกุล และ พรทิวา แสงเขียน. (2565). อิทธิพลของความสามารถในการทำกำไร ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และการบริหารสินค้า ที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลของกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานนต์ที่ได้รับส่งเสริมลงทุนในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก. Journal of Modern Learning Development, 7(10), 236-254.

อลิษา ประสมผล และ การุณ สุขสองห้อง. (2562). การบริหารกำไรแบบเชิงฉกฉวยโอกาส หรือ เชิงผลประโยชน์ กรณีศึกษาบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(2), 247-259.

Chung, Kee H. and Pruitt, Stephen W. (1994). A Simple Approximation of Tobin’s Q. Financial Management, 23(3), 70-74. doi: 10.2307/3665623.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023