ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้ในระบบภาคครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ดร.เดชอนันต์ บังกิโล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • วิภา สำราญ นักศึกษาระดับปริญญาโท สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ดร.ธนพร หอมละออ อาจารย์สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ทักษะทางการเงิน, ความรู้ทางการเงิน, พฤติกรรมทางการเงิน, ทัศนคติทางการเงิน, หนี้ครัวเรือน, หนี้ในระบบ

บทคัดย่อ

ด้วยสภาพของประชาชนภาคครัวเรือนมีการก่อหนี้สินมากขึ้น ภาคครัวเรือนมีภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง      มีหนี้สินมากกว่าเงินออม ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้ในระบบภาคครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน ทัศนคติทางการเงิน ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการก่อหนี้ในระบบครัวเรือนของประชากรในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยคือ ประชากรที่มีครัวเรือนอยู่ในจังหวัดเชียงราย ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป จำนวน 389 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยลอจิสติกส์ (Logistic Regression) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ผลการวิจัย พบว่า การก่อหนี้ในระบบของครัวเรือนส่วนใหญ่มาจากปัจจัยเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เกิดการก่อหนี้ จำนวน 203 ราย วงเงินกู้แต่ละรายอยู่ที่ไม่เกิน 100,000 บาท จากการวัดระดับทักษะทางการเงิน  พบว่า ระดับความรู้ทางการเงินสูง ระดับพฤติกรรมทางการเงินปานกลาง และทัศนคติทางการเงินปานกลาง โดยส่วนมากผู้ที่ก่อหนี้จะเป็นกลุ่มประชากรเพศหญิง อายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ที่ปริญญาตรี โดยประกอบอาชีพค้าขาย จำนวนสมาชิกครัวเรือน จำนวน 3 – 5 คน รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 10,001 – 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมต่อครัวเรือนอยู่ที่ 10,001 – 30,000 บาท จากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทักษะทางการเงิน ได้แก่ (1) ความรู้ทางการเงิน (2) พฤติกรรมทางการเงิน (3) ทัศนคติทางการเงิน มีความสัมพันธ์ต่อการก่อหนี้ในระบบของครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย ส่วนปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ (1) เพศ (2) อาชีพ (3) ระดับการศึกษา (4) จำนวนสมาชิกครัวเรือน (5) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน มีความสัมพันธ์ต่อการก่อหนี้   ในระบบครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย และปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์ต่อการก่อหนี้ ในระบบครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับทักษะทางการเงินให้กับภาคครัวเรือน รวมทั้งการวางแผนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะช่วยให้ภาคครัวเรือนสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพื่อป้องกันการเกิดหนี้สินเกินตัวในอนาคตและทำให้สถานภาพทางการเงินของครัวเรือนมีความมั่นคงต่อไปได้

References

กรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดเชียงราย. (2564). มาตรการป้องกันโรค. สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2564. จาก : http://cro.moph.go.th/moph/index.php

กรวินท์ กรประเสริฐวิทย์. (2558). ทัศนคติความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรม และคุณลักษณะการใช้งานของเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้เครื่องชำระค่าโทรศัพท์อัตโนมัติของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปี 2558. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กรวีร์ นันท์ชัยพฤกษ์. (2558). ความรู้และพฤติกรรมทางการเงินของข้าราชการครูในกรุงเทพมหานคร.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). ทำความรู้จักกับหนี้ครัวเรือน. สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2564. จาก:https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/ASEANCommunity/BankersTalk/Vol3Issue1.pdf

ธนวรรธน์ พลวิชัย. (2564). ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2564.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เบญจมาศ กิ่งดี และพาชิตชนัต ศิริพานิช. (2552). ทัศนคติต่อการเป็นหนี้ของข้าราชการครู.

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2564. จาก : http://www.royin.go.th/dictionary

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนาภรณ์ เชาวลิตตระกูล. (2551). เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนี้สิน. สืบค้นวันที่ 13 มิถุนายน 2564. จาก : http://www.pbntc.moe.go.th/inventor_teacher/datas/A%201.doc

รัศมิ์จันทร์ ขวัญเมือง. (2563). ผลกระทบของทักษะทางการเงินที่มีผลต่อสภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

โรส เตชชัยจินดำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการกู้เงินนอกระบบของประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลดา พิศกุล และอารยา โพธิศิริ. (2562). ทักษะทางการเงินของนักศึกษาที่กู้ยืมเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อ การศึกษา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2556). ความรู้เรื่องทางการเงิน (financial literacy) : หลักสากลและวิธีวัด. สืบค้นวันที่ 4 พฤษภาคม 2564. จาก : https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/510818

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สรุปผลที่สําคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2554. สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2564. จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13.pdf

สำนักข่าวอิสรา. (2563). SCB EIC เผยภาระหนี้ต่อรายได้ “ครัวเรือนไทย” พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์. สืบค้นวันที่ 24 มิถุนายน 2564. จาก : https://www.isranews.org/content-page/item/84631-scb-eic.html

สวรรณ วิจิตรสุข และวิจิตต์ศรี สงวนวงศ์. (2564). การวิเคราะห์สภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ การเกษตรในเขตภาคใต้ประเทศไทย. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรุณี นุสิทธิ์. (2557). ปัจจัยอธิบายความเพียงพอจากการออมเพื่อเตรียมเกษียณของผู้มีงานทําในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 2557 (144), 39-52.

อัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2555). สื่อการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีประทุม. สืบค้นวันที่ 8 มิถุนายน 2564. จาก : http://dllibrary.spu.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/1138/12.

Atkinson, A., & Messy, F. (2012). Measuring financial literacy: Results of the OECD/international network on financial education (INFE) pilot study. https://www.oecd-ilibrary.org/finance- andinvestment/measuring-financialliteracy_5k9csfs90fr4-en

Cochran, W. G. (1953). Sampling techiques. John Wiley & Sons.

Financial Service Authority (FSA). (2005). Measuring financial capability: An exploratory Study. Personal Finance Research. http://www.pfrc.bris.ac.uk/publications/completed_research/Reports/Fincap_June05.pdf

Garman, E. T., & Forgue, R. E. (2000). Personal finance: The human resource manager: Caught in the middle. CUPA Journal, 45(1), 33-35.

Organization for Economic Co-operation and Development OECD (2012) .PISA 2012 Assessment and analytical framework. https://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/PISA%202012%20framework%20e-book_final.pdf

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior (5th ed.). Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-10-2023