การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุทธดา ขัตติยะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ประภาพรรณ ไชยานนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศศิวิมล ภู่พวง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตเป็นเครื่องมือในการวิจัย     ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย คือ ประธานกลุ่ม คณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มผ้าปักมือบ้านสันกอง จำนวน 10 คน โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สังเกตแล้วทำการวิเคราะห์จำแนกข้อมูล (Typological Analysis) ตามกรอบโมเดลทางธุรกิจเพื่อให้ได้ลักษณะการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Social Creative Potential Development Integrated Model (SCPD Integrated Model) โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยสมาชิกกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มลูกค้ามีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ สินค้ามีรูปแบบที่หลากหลาย ลวดลายปักเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จำหน่ายสินค้าที่แหล่งผลิตและทางออนไลน์ มีการให้ส่วนลดแก่ลูกค้า รายได้ของกลุ่มมาจากการจำหน่ายสินค้า ทรัพยากรหลักคือแรงงานและองค์ความรู้ภูมิปัญญา มีกิจกรรมหลักคือการอบรมและปักผ้าด้วยมือ มีคนในชุมชนเป็นพันธมิตรหลักในการผลิตสินค้า และต้นทุนหลักคือค่าแรงงานและวัสดุในการผลิต ผลการวิจัยยังทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบของพวงกุญแจรูปสัตว์ต่างๆ ที่มีการพัฒนามาจากเดิมโดยปรับเปลี่ยนเส้นด้ายที่ปักจากด้ายสีสารเคมีมาเป็นเส้นด้ายสีธรรมชาติ และพัฒนาในส่วนของตัวพวงกุญแจเพิ่มพู่ห้อยพวงกุญแจ แท็กชื่อตราสินค้าและปรับเปลี่ยนห่วงผ้าสำหรับร้อยด้ายเป็นตะขอก้ามปู เพื่อให้ดูหรูหราสวยงามมากยิ่งขึ้น

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). รายงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2565. จาก http://cddata.cdd.go.th/apps/bigdata/

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก, https://www.slideshare.net/kobbaka/etat-journal-22554

จีรเกียรต์ อภิบุณโยภาส และสุขุมาล กล่ำแสงใส. (2563). การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหมู่บ้านทำมาค้าขาย:กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ

หนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 16(2), 1-21.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(1), 250-268.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ SCPD Integrated Model กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(1), 1698-1711.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2561). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 113-144.

สุนีย์ บุตรดี บัณฑิต ผังนิรันดร์ และณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์. (2562). แบบจำลองการวัดความสำเร็จของกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศ่าสตร์, 6(1), 106-117.

Osterwalder, A. and Pigneur, Y. (2010). “Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, Game Changers, and Challengers”. Hoboken, NJ: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-10-2023