การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตะกร้าหวาย บ้านหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ความเสี่ยง, วิสาหกิจชุมชน, ตะกร้าหวายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายในของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการพัฒนาแปรรูปและการออกแบบผลิตภัณฑ์จากตะกร้าจากหวาย บ้านหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการพัฒนาแปรรูปและการออกแบบผลิตภัณฑ์จากตะกร้าจากหวาย บ้านหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิก ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการพัฒนาแปรรูปและการออกแบบผลิตภัณฑ์จากตะกร้าจากหวาย บ้านหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายทั้งหมดจำนวน 10 ราย โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ได้แก่ การวางกลบยุทธ์การบริหารจัดการสมาชิกภยในกลุ่มเรื่องนโยบายการจัดสรรเวลา เนื่องจากต้องรอสมาชิกว่างจากงานประจำ จึงทำการสานตะกร้าหวายได้ สมาชิกไม่ได้สานตะกร้าหวายเป็นงานหลัก จึงทำให้สมาชิกหาเวลาว่างมาสานตะกร้าหวายได้น้อย ลวดลายไม่ค่อยมีความแปลกใหม่ ชุมชนยังคงต้องการอนุรักษ์ความเป็นไทยใหญ่แท้ เนื่องจากจะอนุรักษ์ให้ลูกหลานสืบต่อไป การแข่งขันในตลาดสูงขึ้นควรส่งสินค้าออกจำหน่ายนอกเขตพื้นที่
ปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ได้แก่ จากการปลูกต้นหวายต้องดูแลเป็นอย่างดี การเกิดภัยตามธรรมชาติ โดยเฉพาะฤดูฝน น้ำท่วม อาจทำให้เกิดการขาดแคลนวัตุดิบ อุปสรรคในการทำงาน ควรมีการฝึกฝนสมาชิกให้เกิดความชำนาญในการทำงานมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงด้านการเงิน ได้แก่ ราคาวัสดุ อุปกรณ์ ราคาไม่คงที่ เนื่องจากสภาวะเงินเฟ้อจากเศรษฐกิจที่ถดถอย แต่ทางหน่วยงานภาครัฐได้ให้ระยะเวลาในการชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ทำให้สมาชิกสามารถทำกำไรได้ในระดับหนึ่ง เพียงพอต่อการใช้หนี้เงินกู้ยืม
ปัจจัยเสี่ยงด้านกฎระเบียบ ได้แก่ กระบวนการทำงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง มีผลกระทบอยู่ในระดับสูงมากและมีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง เนื่องจากเวลาที่ว่างไม่ตรงกันของสมาชิกทำให้เกิดการไม่ทำตามกฎระเบียบมากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการผลิต ทำให้ผลิตตะกร้าหวายได้ไม่เพียงพอต่อการจัดสรรกำไรให้แก่สมาชิก
References
กานต์ธีรา พละบุตร (2562). กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กร:การศึกษาเชิงประจักษ์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเลย.วารสารบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.11(4).62-80.
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564).บริหารความเสี่ยงอย่างไรให้องค์กรไร้วิกฤต. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. 4 (1). 340-351.
จิณห์ระพีร์ พุ่มสงวน. (2565 กรกฏาคม 4 ). การควบคุมภายในตามแนวทางของ COSO. จากhttp://rama4.mahidol.ac.th/risk_mgt/?q=article/05252014-1648
ญานินท์ เยลึและอรวรรณ เชื้อเมืองพาน. (2565). การวิเคราะหความเสี่ยงของกลุมวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบานเทอดไทยอําเภอแมฟาหลวงจังหวัดเชียงราย.วารสารบัญชีปริทัศนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายปที่ 7 (2).86-101
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร