การพัฒนาและศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เสื้อชนเผ่าอาข่าประยุกต์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • มโนชญ์ เทศอินทร์ นักวิจัยอิสระ
  • นิรุตติ์ ชัยโชค อาจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วิไลลักษณ์ วงศ์ชัย นักวิจัยอิสระ
  • พิชญดา แก้วดี นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ต้นทุน, ผลตอบแทน, ความพึงพอใจ, ชุดบิกินีจากผ้าหม้อห้อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อชนเผ่าอาข่าประยุกต์ เพื่อพัฒนาและออกแบบลวดลายเสื้อชนเผ่าอาข่าประยุกต์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ให้ความสนใจต่อผลิตภัณฑ์เสื้อชนเผ่าอาข่าประยุกต์ จังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 19-30 ปี ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เสื้อชนเผ่าอาข่าประยุกต์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.66) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านช่องทางการจำหน่ายและด้านความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (gif.latex?\bar{x}=4.69) เป็นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ งานหัตถกรรม และสามารถสวมใส่ตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ได้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด (gif.latex?\bar{x}=4.67) ลูกค้าสามารถเลือกลวดลายที่ต้องการได้และมีบริการจัดส่งสินค้าฟรี

References

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย: เชียงราย

พิสันต์ จันทร์ศิลป์. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย: เชียงราย

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย. (2565). ชนเผ่าอาข่า : เอกลักษณ์เครื่องแต่งกาย ความแพรวพราวจากศีรษะจรดเรียวขา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566 จาก https://shorturl.asia/bNDgu

ทาริกา สระทองคำ และคณะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในยุคอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 239-250.

พรรณิภา ซาวคำ และคณะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 165-182.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กษิรา ภิวงศ์กูร และคณะ. (2562). ลวดลายชาติพันธ์ชนเผ่า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก หมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร. วารสารมังรายสาร, 7(2), 123-140.

ดวงมณี สูงสันเขต. (2560). การศึกษาชนเผ่าอาข่าเพื่อออกแบบชุดผลิตภัณฑ์ตกแต่งบนโต๊ะอาหาร (กรณีศึกษาชนเผ่าอาข่า กลุ่มลอมี้ จังหวัดเชียงราย). ศิลปะมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อวยพร ต๊ะวัน. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อแฟชั่นชาติพันธ์อาข่า จังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์, 4(2), 72-84.

วราภรณ์ เชิดชู. (2563). อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยวน: แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 11(2), 200-222.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2565). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/a6jQd

ทัศนีย์ วงค์สอน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผ้าฝ้าย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

มูลนิธิช่างหัตถกรรมศิลป์ไทย. (2556). แนวทางการพัฒนาเพื่อการส่งออก กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงศึกษาธิการ.

พิณิชา กิจเกษมพงศา. (2559). คุณภาพของอาหาร ความคุ้มค่าด้านราคา ความพึงพอใจ คุณค่าด้านสุขภาพและทัศนคติต่ออาหาร ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารริมทางของผู้บริโภคโนกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รัฐพล สังคะสุขและคณะ. (2560). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 38-49.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ส่วนผสมทางการตลาด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566. จาก: https://shorturl.asia/xDhYZ

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Yamane, T. (1970). Statistics; An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023