การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกก้างปลาในตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พีระพล ศรีวิชัย นักวิจัยอิสระ
  • พรพิมล แสงคำ เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • อุบลวรรณ์ พรมใน เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • แก้ว ยี่ใส เยาวชนผู้ร่วมวิจัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์, น้ำพริกก้างปลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกก้างปลาและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกก้างปลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ จำนวน 400 ราย การศึกษาใช้วิธีรวบรวมข้อมูลโดยการออกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่ของอาหาร (gif.latex?\bar{x}=4.34)อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาความสวยงามของผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}=4.25) อยู่ในระดับมากที่สุด ความชัดเจนในด้านราคาของบรรจุภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}=4.17) อยู่ในระดับมากป้ายฉลากของผลิตภัณฑ์มีข้อความวันผลิตและวันหมดอายุ (gif.latex?\bar{x}=4.10) อยู่ในระดับมาก รูปลักษณ์ของอาหาร (gif.latex?\bar{x}=4.07) อยู่ในระดับมาก และ รสชาติอาหาร (gif.latex?\bar{x}=4.02) อยู่ในระดับมากต้นทุนของ ผลิตภัณฑ์น้ำพริกก้างปลา เฉลี่ย 40.05 บาท/กระปุก โดยมีวัตถุดิบทางตรง เฉลี่ย 35.09 บาท/กระปุก ค่าแรงงานทางตรง เฉลี่ย 1.5 บาท/กระปุก และค่าใช้จ่ายในการผลิต เฉลี่ย 7.46 บาท/กระปุก ผลการวิเคราะห์ภาพรวมระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาดและด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x}=4.30) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านราคา (gif.latex?\bar{x}=4.22) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}=4.16) อยู่ในระดับมาก

References

กุลธิดา ก้าวสัมพันธ์. (2560). การส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รัชภูมิ สมสมัย. (2552). การสร้างแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,

ธีรพงษ์ เทพกรณ์. (2556). น้ำพริกน้ำเมี่ยงคั่วของชุมชนบ้านผาเด็ง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่.6(1). 68-79

ปราโมทย์ ธรรมรัตน์.(2556) การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเสริมแคลเซียมสูงจากก้างปลาสำหรับชุมชนบางระกำ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงเพื้นที่. 5(3),69-83

พิมลพรรณ จันทร์เจริญ และกิตติมา ชาญวิชัย. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการตลาดของสถาบันแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(พิเศษ), 73 – 86.

สุพจน์ บุญแรง. (2557). การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีนํ้าหมักชีวภาพสำหรับเกษตรกร กรณีศึกษา พื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ . มหาวิทยาลัยแม่โจ้/เชียงใหม่.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช). (2565 เมษายน 10).เศรษฐกิจชีวภาพ BIOECONOMY. จาก https://www.bcg.in.th/bioeconomy/

สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565 เมษายน 6). จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553. จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/36.htm

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting). กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2558). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารในการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลก.วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.1(1).60-69.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers. 202-204.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed.New York.Harper and Row. Publications. Vroom, H. V. (1967). Work and Motivation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023