ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของหมอนลายปักชนเผ่าอาข่าในตำบลแม่จันอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พรศิริ ธนพลสิริกุล นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, หมอนลายปักชนเผ่าอาข่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของหมอนลายปักชนเผ่าอาข่าและเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ผลิตหมอนลายปักชนเผ่าอาข่า ในหมู่บ้านจอป่าคา ตำบล  แม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 45 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนวัตถุดิบทางตรงในการทำหมอน 48.91 บาท ประกอบด้วย ผ้า 44.11 บาท/ใบ เส้นด้าย 4.80 บาท/ใบ มีค่าแรงงาน 100.00 บาท/ใบ และมีค่าใช้จ่ายในการผลิตหมอน ทั้งสิ้น 125.20 บาท ประกอบด้วย นุ่น 102.16 บาท/ใบ เข็ม 1.82 บาท/ใบ และค่าประกอบ 21.22 บาท/ใบ มีอัตรากำไรสุทธิ ต่อยอดขายเฉลี่ย 32.26%
  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของปัญหาด้านสุขภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.03) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปัญหาด้านสายตาและต้นคอ (gif.latex?\bar{x}= 4.27) รองลงมาได้แก่ การปวดหลัง (gif.latex?\bar{x}= 4.22) และการด้านนิ้วมือ (gif.latex?\bar{x}= 4.16)  

ปัญหาและอุปสรรคปัญหาด้านวัตถุดิบ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.29) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การเดินทางไปซื้อวัตถุดิบไกลและลำบาก (gif.latex?\bar{x}= 3.47) รองลงมาได้แก่ วัสดุอุปกรณ์หายาก (gif.latex?\bar{x}=3.27 ) และคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ (gif.latex?\bar{x}=3.13)

ปัญหาและอุปสรรคของปัญหาด้านการผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.07) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทุกขั้นตอนการผลิตรักษาความสะอาดเสมอ (gif.latex?\bar{x}= 4.36) รองลงมาได้แก่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนการผลิตอย่างประณีตและใช้เวลานาน (gif.latex?\bar{x}= 4.20) และมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพและมาตรฐานก่อนการจำหน่าย (gif.latex?\bar{x}= 4.16)

ปัญหาและอุปสรรคของปัญหาด้านการจัดจำหน่าย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.81) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายในปัจจุบัน  เพื่อนำเสนอข้อมูลของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภครับรู้และตัดสินใจซื้อ (gif.latex?\bar{x}= 3.93) รองลงมาได้แก่ มีการลดราคาสินค้าในบางครั้ง เพื่อระบายสินค้าที่มีอยู่ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เหลืออย่างละแบบ (gif.latex?\bar{x}= 3.87) และการขายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางทำให้ไม่ได้ราคาที่ต้องการ (gif.latex?\bar{x}= 3.84)

References

กษิรา ภิวงศ์กูร, บุญชู บุญลิขิตศิริ และภรดี พันธุภากร. (2562). ลวดลายชาติพันธ์ชนเผ่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก หมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร. วารสารมังรายสาร.7(2).123-140.

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจํากัด (มหาชน).

ดวงมณี โกมารทัต.(2551). การบัญชีต้นทุน.พิมพ์ครั้งที่12.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ดวงมณี สูงสันเขต. (2560). การศึกษาชนเผ่าอาข่าเพื่อออกแบบชุดผลิตภัณฑ์ตกแต่งบนโต๊ะอาหาร.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์. ภาควิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทศพร ไชยประคอง และ ปฐมชัย กรเลิศ. (2561). การศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไรของผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ: กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองอาบช้าง ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 28.(1).71-83.

ปิยะวัน เพชรหมี, สุจินดา เจียมศรีพงษ์และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์.(2562). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจผ้าทอพื้นเมืองของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ในภาคเหนือของประเทศไทย.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตรและการสื่อสาร.14(3).146-164.

มูลนิธิโครงการหลวง.(2555 พฤศจิกายน 11). อาข่า (Akah) หรือ อีก้อ. แหล่งที่มา: https://www.royalprojectthailand.com/node/868

วิกิพีเดีย สารานุกรมไทย (2564พฤศจิกายน 9) หมอน. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023