การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าเงิน ลายชนเผ่าม้ง บ้านสันกอง ตำบลแม่ไร่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ธนัชชา คำรศ นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • อภิญญา จันเทพ นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุพิชญา สุดบุรินทร์ นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.พัทธมน บุณยราศรัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.อรวรรณ เชื้อเมืองพาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเงินผ้าปักมือลายชนเผ่าม้ง, ต้นทุนของผลิตภัณฑ์, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าปักมือลายชนเผ่าม้ง
  2. เพื่อความพึงพอใจของผู้ผลิตที่มีต่อผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ชาวบ้านผู้ทำการปักผ้าบ้านสันกอง และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านสันกอง ในหมู่บ้านสันกอง ตำบลแม่ไร่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 60 ราย การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการออกแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือน กรกฎาคม 2564 ถึง กันยายน 2564

พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าเงิน ลายชนเผ่าม้ง ลวดลายผ้าปักของชนเผ่าที่นำมาพัฒนาและออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยผ้าครอสติชพื้นสีดำและเล่นลวดลายของสีให้มีสีสันเข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าม้ง เติมลวดลายของขอบกระเป๋าและความสวยงามเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า

ความพึงพอใจของผู้ผลิตที่มีต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ด้านลวดลายมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้ ความชื่นชอบลวดลายชนเผ่าม้ง (gif.latex?\bar{x}= 4.53) ด้านการใช้งานเมื่อพิจารณาแล้ว พบว่ามีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ กระเป๋าผ้าปักมือสามารถดูแลรักษาได้ง่าย (gif.latex?\bar{x}= 4.45) และทางด้านผลพลอยได้จากการปักผ้าเมื่อพิจารณาแล้ว พบว่ามีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (gif.latex?\bar{x}= 4.30)

References

จิตพนธ์ ชุมเกต, (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรณ์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดวงพร ริบแจ่ม. (2564 กรกฎาคม 4).ลักษณะของความพึง พอใจ. แหล่งที่มา : http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/

ทองเจือ เขียดทอง (2558). ผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง : การออกแบบเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. 2(1). 55-79

ธนกิจ โคกทอง. (2564 กรกฎาคม 4). ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน. แหล่งที่มา : https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/17682018-04-30.pdf

พาทินธิดา วชิรอาภาและคณะ. (2564 กรกฎาคม 4). ปัจจัยในการดำเนินงาน. แหล่งที่มา : https://drive.google.com/drive/folders/

พิชญะ อินตาโสภี, พบพร เอื่ยมใส และธนกิจ โคกทอง (2562) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเมี่ยน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 907- 918

ศศช. บ้านห้วยฮ่อมล่าง. (2564 กรกฎาคม 5). ลวดลายผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/dei.ac.th/hueyhomleang-phrae

อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี และนิรัช สุดสังข์ (2556).การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขา เผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023