ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาการออกแบบลวดลายพรมเช็ดเท้าแฟนซี บ้านป่าบง ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • คมกริช ญารังษี นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กนกกุล อินต๊ะ นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปวีณา แก้วพุ่น นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การพัฒนารูปแบบและลวดลาย, พรมเช็ดเท้าแฟนตาซี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการเย็บพรมเช็ดเท้า 
  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้เย็บพรมเช็ดเท้า
  3. เพื่อประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาลวดลายใหม่ของพรมเช็คเท้าแฟนตาซี กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาคือ ผู้เย็บพรมเช็ดเท้า จำนวน 20 รายการศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน 2564

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ต้นทุนในการเย็บพรมเช็ดเท้าต่อ 1 ผืน ผู้ตอบแบบสอบถาม มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อผืน เท่ากับ 79.45  บาท ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อผืน เท่ากับ 20.70 บาท กำไรเฉลี่ยต่อต้นทุนเท่ากับ 26.20 บาท กำไรเฉลี่ยต่อยอดขาย เท่ากับ 20.66 บาท
  2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีปัญหาด้านผลเสียต่อสายตา รองลงมาผลเสียต่อต้นคอและหลัง  ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{x}=1.54) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ปัญหาและอุปสรรคในการเย็บพรมเช็ดเท้า (gif.latex?\bar{x}=1.78) รองลงมาได้แก่ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาเศษผ้า (gif.latex?\bar{x}=1.70)
  3. การออกแบบและพัฒนาลวดลายพรมเช็ดเท้าได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายมีความสวยงามและมีจุดเด่นจากลวดลายทั่วไปได้นำไปประเมินการออกแบบของพรมเช็ดเท้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.86) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านรูปแบบด้านฝีมือการเย็บ ด้านการออกแบบของการเย็บพรมเช็ดเท้า (gif.latex?\bar{x}= 4.93) รองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้สี (gif.latex?\bar{x}= 4.65)

References

กฤตพร ชูเส้ง. (2564 กรกฎาคม 5). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์มัดย้อมสำหรับ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด. แหล่งที่มา :

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Piraon_Amnueypornsakul/

โซอิ้ง แมชชีน. (2564 กันยายน 29).ปัญหาด้านการเย็บเกิด. แหล่งที่มา :

https://www.tcmsewing.com/solution

พีระพล ศรีวิชัย. (2564 กันยายน 29). การพัฒนาผลิตภัณฑ์. แหล่งที่มา :

https://mail.google.com/mail/u/1/?pli=1#imp/FMfcgzGkXmdStSzNSSM

วารุณี สุนทรเจริญเงิน (2564 กรกฎาคม 5). แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์. แหล่งที่มา :

https://library.tru.ac.th/aritc-tru/images/academic/book/b48424/06chap01.pdf

สุรัช สาหู. (2564 มิถุนายน 20). แนวคิดการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์. แหล่งที่มา :

http://dspace.bu.ac.th › bitstream › piyaporn_kamy

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2564 กันยายน 27). ต้นทุนของผลิตภัณฑ์. แหล่งที่มา :

https://images-seed.com/ws/Storage/PDF/978616/082/9786160825462PDF.pdf

อัจฉราวรรณ ณ สงขลา. (2564 มิถุนายน 20). การเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุสิ่งทอเหลือทิ้ง. แหล่งที่มา:

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Piraon_Amnueypornsakul/fulltext.pdf?fbclid=IwAR2kHfrcU9xWB1gioupQxCGvzxr8_puZDfnlQCCvMhdMbzGZKQ8740-flYo

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023