ต้นทุนผล ตอบแทนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองเท้าจากผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ณัธริณี กาถาไชย นักวิจัยอิสระ
  • จารุวรรณ บัวงาม นักวิจัยอิสระ
  • ปิรัชฎา กาถาไชย นักวิจัยอิสระ
  • ธิดารัตน์ ทิพย์ประเสริฐ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • นิรุตติ์ ชัยโชค อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ผลิตภัณฑ์รองเท้าจากผักตบชวา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนและเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การจักสานผักตบชวากับวัสดุอื่นประยุกต์ให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และปัจจัยการดำเนินการผลิต ในตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และพ่อค้าคนกลาง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองเท้าจากผักตบชวามี ต้นทุนในการผลิต ค่ารองเท้าจักสานผักตบชวาคู่ละ 80 บาท ค่าใช้จ่ายในการผลิต 142 บาทต่อคู่ รวมเป็นต้นทุนทั้งสิ้น 222 บาทต่อคู่ ขายในราคา 259 บาท กำไรต่อคู่คือ 37 บาท
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์การจักสานผักตบชวาประยุกต์ให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ จากการประเมินพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x}= 4.53) รองลงมา ได้แก่ ด้านรูปแบบ (gif.latex?\bar{x}= 4.45) และด้านประโยชน์ใช้สอย (gif.latex?\bar{x}= 4.34)
  3. ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานในภาพรวม อยู่ในระดับ น้อย (gif.latex?\bar{x}= 2.17) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}= 2.66) รองลงมา ได้แก่ ด้านต้นทุนและค่าใช้จ่าย (gif.latex?\bar{x}= 2.16) และด้านการผลิต (gif.latex?\bar{x}= 1.69) 

References

กิเลน ประลองเชิง. (2559 สิงหาคม 13). ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักตบชวา. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ผักตบชวา

วศิรินทิพย์ เหลืองสุดใจชื้น (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง. มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงธุรกิจ

อานนท์ พุทธิมา. (2563).ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P's) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไทยของ ชาวจีนผ่านทางเว็บไซต์ ออนไลน์,วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. 1-13

อําไพ แสงจันทร์ไทย และ จิรวัฒน์ พิระสันต์ (2558).การพัฒนาเฟอร์นิเจอร์จากผักตบชวาของกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านวงฆ้องอําเภอลานกระบือจังหวัดกําแพงเพชร.วารสารวิชาการศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 6(2).165-178

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023