การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักลายกระเป๋าของชาติพันธ์ลาหู่ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วิราพร ใจดี นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุนิตา นายมู นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • อรอุมา ปัญญากอบ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.วรลักษณ์ วรรณโล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ผลิตภัณฑ์ผ้าปักลายกระเป๋าของชาติพันธุ์ลาหู่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาและออกแบบของผ้าปักลายของกลุ่มชาติพันธุ์  ลาหู่ ต้นทุนและผลตอบแทนในการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค   ในการปักผ้าลายกระเป๋าของชาติพันธ์ลาหู่ ที่ได้พัฒนาและออกแบบขึ้นแล้วของผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ที่สนใจของผลิตภัณฑ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยและนำไปต่อยอดให้มีมูลค่ามากขึ้นในการผลิตที่เกิดขึ้นจากการปักผ้าของชาติพันธ์ลาหู่ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยครั้งนี้ คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 50 ราย และใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการออกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนและผลตอบแทนในการปักผ้ากลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ผลิตภัณฑ์เสื้อจะได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 663.33 บาท ผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่นจะได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 557.50 บาท ผลิตภัณฑ์กางเกงจะได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 546.67 บาท ผลิตภัณฑ์หมวกจะได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 302.50 บาท และผลิตภัณฑ์กระเป๋าจะได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 703.75 บาท

ด้านอัตราผลตอบแทนผลิตภัณฑ์เสื้อ มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 80.91% และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 44.72 % ผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่น มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 79.37%  และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 44.25% ผลิตภัณฑ์กางเกง มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI)  82.93% และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 45.33% ผลิตภัณฑ์หมวก มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 164.46% และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 62.19% และผลิตภัณฑ์กระเป๋ามีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 70.52% และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 41.35%

References

กชกร เฉลิมกาญจนา. (2548). การบัญชีบริหาร.กรุงเทพมหานคร :แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร ณ เชียงใหม่. (2555). การบัญชีต้นทุน 1.กรุงเทพมหานคร : พัฒนาวิชาการ

ลําใย มากเจริญ. (2556). การบัญชีต้นทุนฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิล เอ็ดดูเคชั่น

ภาสกรโทณะวนิก. (2554).การประยุกต์พระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญา

ท้องถินงานหัตถกรรมสาขาจักสานของจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2547). การบัญชีต้นทุน 2.กรุงเทพมหานคร :แมคกรอ-ฮิล

สุภาพร ชาววัง. (2552). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการพัฒนาเครื่องจักสานเชิงพาณิชย์.จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023