ต้นทุน ผลตอบแทน การพัฒนาและปัญหาในการผลิตผ้ามัดย้อม ชุมชนบ้านห้วยก้าง ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เกวลิน อุ่นญาติ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วิภาดา ไกลถิ่น นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุภัสสร ชัยมูลมั่ง นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเขียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การพัฒนา, ปัญหาในการผลิตผ้ามัดย้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการทำผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม และศึกษาปัญหาในการผลิตผ้ามัดย้อม ในชุมชนบ้านห้วยก้าง ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ผลิตผ้ามัดย้อม ชุมชนบ้านห้วยก้าง ตำบลไม้ยา อำเภอ        พญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 ราย การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการสร้างแบบสัมภาษณ์

ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม มีต้นทุนรวมเฉลี่ย เท่ากับ 76.00 บาทต่อผืน ซึ่งประกอบด้วย ตัวทุนวัตถุดิบทางตรงเฉลี่ย 40.50 บาทต่อผืน ต้นทุนค่าแรงงานทางตรงเฉลี่ย 23.50 บาทต่อผืนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตเฉลี่ย 12.00 บาทต่อผืน ผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม เฉลี่ยเท่ากับ 150 บาทต่อผืน กำไรจากการขายเฉลี่ย 74.00 บาทต่อผืน

การพัฒนาลวดลายและสีของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การพัฒนาลวดลายและสีที่แตกต่างจากเดิม รองลงมาคือความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ความพึงพอใจต่อรูปแบบในภาพรวม และการใช้วัสดุ สี ลวดลายเหมาะสมกับความนิยมปัจจุบัน

ปัญหาในการผลิตผ้ามัดย้อม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาด้านวัตถุดิบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ชนิดของเสื้อสีขาวที่มีผลต่อการดูดซึมของสีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ สีบางชนิด ย้อมเสร็จแล้วไม่ติด และวัตถุดิบราคาแพง ในส่วนของปัญหาด้านผู้ผลิต คือ สีย้อมผ้าทำให้เกิดอาการแพ้

References

กนกเพิ่ม ขันโคกกรวด. (2558). การบัญชีต้นทุนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทย จำกัด.

วิชัย ธิโวนา. (2550) ปัจจัยที่มีส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการ ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี.

ชนิดาภา มาตราชและคณะ. (2559). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ “ลายฟองน้ำหัวฝาย” ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 2559 (ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2559).

นันทิดา ชะเวิงรัมย์และคณะ. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.

มเนศ จันดา. (2563 มิถุนายน 2 ). ภูมิปัญญาผ้ามัดย้อม. แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/lookesanhnumbannok/home/phumipayya-pha-mad-yxm

อาทิตยา ใคร่นุ่นและคณะ. (2556). การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากแก่นฝางใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023