การออมเงินเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณการทำงานของประชากรในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • กชพรรณ จันทร์แก้ว นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • สายชล นาคคล้าย นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • ดร.พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

คำสำคัญ:

การออมเงิน, ความพร้อมการเกษียณการทำงาน, รูปแบบการออมเงิน, ทัศนคติการออมเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออมเงินเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณการทำงานของประชากรในจังหวัดระยอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ จำนวนประชากรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมในจังหวัดระยอง จำนวน 400,948 ราย (สำนักงานประกันสังคม, 2562) กลุ่มตัวอย่าง 400 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบให้ความสำคัญเกี่ยวกับการออมเงินเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณการทำงานของประชากรในจังหวัดระยองทั้งในภาพรวม และรายด้านรูปแบบการออมเงิน ด้านความรู้ทางการเงิน และด้านทัศนคติการออมเงิน อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ระดับความสำคัญ ของการออมเงินเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณการทำงานของประชากรในจังหวัดระยอง โดยภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบการออมเงิน ด้านความรู้ทางการเงิน และด้านทัศนคติการออมเงิน ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบ เป็นรายข้อ พบว่า การออมเงินโดยการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต และความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมเงินมีความแตกต่างกัน

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสสิเนสอาร์แอนด์ดี.

นเรศ หนองใหญ่. (2560). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน) วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิยม กริ่มใจ. (2559). แนวโน้มค่านิยมพฤติกรรมผู้บริโภคในสังคมไทย ศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 22(2), 144-150.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิรกุล. (2560). การบริหารจัดการภาครัฐไทยภายใต้ระบบรัฐสวัสดิการ. วารสารวิทยาศาสตร์การจัดการ, 4(1), 110-122.

สำนักงานประกันสังคม. (2562 กรกฎาคม 8). จำนวนประชากรในจังหวัดระยองที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม. แหล่งที่มา www.rayong.mol.go.th.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2562 กรกฎาคม 8). การออมกับกระแสรายได้และรายจ่าย.แหล่งที่มา www.fpo.go.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562 กรกฎาคม 6). จำนวนประชากรผู้สูงอายุรวมในจังหวัด. แหล่งที่มา www.dop.go.th.

_____________. (2562 กรกฎาคม 2562). จำนวนหนี้สินต่อครัวเรือนในจังหวัดระยอง., แหล่งที่มา : www.rayong-catalog.gdcatalog.go.th.

สุพัตรา สมวงศ์ และบังอร สวัสดิ์สุข. (2559). ศึกษาการออมเงินเพื่อวัยเกษียณของลูกค้าธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน). การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. 767-779.

สุวิทย์ ขจรกล่ำ, นันทวัน อินทชาติ และเอกลักษณ์ นัถฤทธิ์. (2562 กรกฎาคม 10). การศึกษาการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. แหล่งที่มา: www.digital_collect.lib.buu.ac.th.

Brumberg. R. (1954). The Life-Cycle Theory of Consumption. Franco Modigliani. Chatterjee, S. (2010). Retirement Savings of Private and Public-Sector Employees: A Comparative Study. The Journal of Applied Business Research. 26(6), 95-102.

Emerson, R. (1976). [online]. Social Exchange Theory. Retrieved from http://www.Annual reviews.org/AR online, accessed on September 3rd 2010.

Korhonen, J. (2011). [online]. Effect of Business Education and Personality on Retirement Saving. Master’s Thesis. (Finance) Department of Finance School of Economics Aalto University. Retrieved from http://www.aaltodo.aalto.fi.

Mahlanza, T., J. (2015). [online]. Factors Influencing Retirement Savings Intentions in Botswana. Ph.D. Dissertation, Deakin University.

Retrieved from http://www.dro.deakin.edu.au.

Mokaya, K., N. (2017). [online]. Financial Factors Affecting Retirement Planning by saving and Credit Cooperative Societies Employees in Nakuru Town, Kenya. Master’s Thesis. (MBA) Faculty of Strategic Human Resource Development School of Business Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology. Retrieved from http://www.ir.jkuat.ac.ke.

Smith, A. (1974), Der Wohlstand der Nationen. Eine Untersuchung Seiner Natur und Seiner Ursachen (The Wealth of Nations), Munchen.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023