อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับไทย ของนักท่องเที่ยวชาวจีน มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • Zhang Xueya นักศึกษาสาขาการจัดการมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ดร.ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน รองศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การตัดสินใจซื้อ, นักท่องเที่ยวชาวจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps นักท่องเที่ยวจากมณฑลเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน และ เพื่อทดสอบอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน  เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เคยซื้อเครื่องประดับไทยจำนวน 521 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิตที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่าระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ต่อนักท่องเที่ยวจากมณฑล   เสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจัยในแต่ละด้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้ง ปัจจัยด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านองค์ประกอบทางกายภาพมีอิทธิพลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวจีนซื้อเครื่องประดับและส่งผลให้กิจการมีผลการดำเนินงานที่ดีต่อไป

References

กัลยา จังจุติกุล. (2553). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เครื่องประดับแท้ สำหรับผู้ชายของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (งานวิจัยเฉพาะเรื่องปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

จุฑาทิพย์ ขุนจันทร์ดี และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับแพนดอร่าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ RTBEC 2020 ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วันที่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563.

ณัฐพงศ์ แซ่อึ้ง และ นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณของลูกค้าในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 7 (1) : 77-92.

รักชลี ชัยอิสรากร. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคทองรูปพรรณในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีแหงสุวรรณภูมิ, 302-311

ฤทธิชัย กอศิริวรชัย. (2544). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับ อัญมณีจากร้านค้าอัญมณีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้า อิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการบริหารธุรกิจ.

วิระพร แก้วพิพัฒน์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องประดับมุกในจังหวัดพังงา. (การศึกษาค้นคว้าปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการตลาด

สุดารัตน์ สินสมศักดิ์. (2558). พฤติกรรมการซื้อทองคำรูปพรรณ 96.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาวิชาการจัดการตลาด

เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. (2562). ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องประดับอัญมณีของชาวไทยและชาวต่างชาติ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12 (2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2562

Amelia, S., Y. & Hudrasyah, H. (2016). Consumers’ Purchase Intention Towards Dimond

Jewelry in Indonesia. Journal of Business and Management, 5 (6) : 747-763.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Chen, H. and Prompanyo, M. (2021). Factors Affecting the Consumption of Contemporary Art Jewelry in Beijing China. American Journal of Industrial and Business Management, 11 : 664-674. DOI: 10.4236/ajibm.2021.116043.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5 th ed. New York : Harper Collins.

Jaggi, S., & Bahl, S.K. (2019). Factors affecting Consumer Buying Behavior for Jewelry. Our Heritage. ISSN: 0474-9030 Vol-67-Issue-10-December-2019

Likert. (1970). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill.

Huimei, L. (2018). Thailand and China's Jewelry Industry. Guangxi : Guangxi University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023