การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าว
คำสำคัญ:
กระเป๋ากะลามะพร้าว, ความพึงพอใจ, พฤติกรรมของผู้บริโภคบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวและศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากกะลามะพร้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์กระเป๋าแปรรูปจากกะลามะพร้าว จำนวน 200 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าวที่ผู้ศึกษาได้ทำการพัฒนา ได้แก่ กระเป๋ากระดุมจากกะลามะพร้าว แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ รูปแบบกระเป๋าถือ ซึ่งออกแบบให้มีความแปลกใหม่ ทำให้มีรูปทรงที่ต่างจากกระเป๋าแบบเดิม และรูปแบบกระเป๋าสะพาย มีการเพิ่มความใหม่ให้กับกระเป๋าด้วยการออกแบบกระดุมจากกะลาเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม 2) พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าว พบว่า กระเป๋าสะพายเป็นรูปแบบที่กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.00 และเหตุผลในการเลือกกระเป๋ามากที่สุด คือ เนื่องจากชื่นชอบรูปแบบของกระเป๋าที่มีความแปลกใหม่ คิดเป็นร้อยละ 55.00 ปัจจัยหลักในการพิจารณาการซื้อ คือ ด้านราคา คิดเป็นร้อยละ 41.50 โดยราคาของกระเป๋าที่เลือกซื้อมากที่สุด คือ ราคาที่ต่ำกว่า 300 บาท คิดเป็นร้อยละ 75.00 และส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 69.00 และ 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าวในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.83) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านราคา (= 3.87) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (= 3.78)
References
จาริณี อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของลูกค้าชาวไทยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จุฑามาศ ดอนอ่อนเบ้า, จิรวัฒน์ พิระสันต์ และนิรัช สุดสังข์. (2554). การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับของกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม อําเภอหนองหิน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการ AJNU, 2(1), 23-38.
ชนิตา เสถียรโชค. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์บน Lazada. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิติพงษ์ เมษสุวรรณ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกะลามะพร้าวของผู้บริโภค ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ระวีวรรณ โพธิ์วัง. (2559 กรกฎาคม 1). การทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว. แหล่งที่มา https://mintnut555.wordpress.com/ ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้า/.
อัปสร อีซอ และคณะ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มกะลามะพร้าวบ้านท่าสาป จังหวัดยะลาตาแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(3), 417-423.
อรอนงค์ ทองปานดี และคณะ. (2560). การศึกษากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว กรณีศึกษากลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านคอกวัว หมู่ที่1 ตำบลชัยบุรีอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 4(1), 100-112.
Mccathy & Pereault, Jr. (1991). Basic Marketing. New York : Mc Graw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร