การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานโคมไฟจากไม้ไผ่ บ้านแม่แพง ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นรินทร์พร ไชยวงค์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ธนันนิดา ใจเผือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปาริชาติ ยังประสงค์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เอกชัย อุตสาหะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาต้นทุนและการจัดจำหน่ายเครื่องจักสานโคมไฟจากไม้
  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อเครื่องจักสานโคมไฟจากไม้ไผ่
  3. เพื่อพัฒนาเครื่องจักสานโคมไฟจากไม้ไผ่ บ้านแม่แพง ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มจักสานบ้านแม่แพง ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ ระหว่าง 51 – 60 ปี ประกอบอาชีพผลิตเครื่องจักสานโคมไฟจากไม้ไผ่เป็นอาชีพเสริม มีการศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
  2. ข้อมูลทั่วไปของเครื่องจักสานโคมไฟจากไม้ไผ่ วัตถุดิบหลักที่นำมาผลิตคือไม้ไผ่ ซึ่งมีการซื้อวัตถุดิบจากพ่อค้าคนกลาง และมีการจัดจำหน่ายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง ปัจจัยที่ทำให้สนใจในการจักสาน คือ หารายได้เสริม ความชอบส่วนตัว งานอดิเรกและเป็นประเพณีวัฒนธรรม
  3. ต้นทุนในการผลิตเครื่องจักสานโคมไฟต่อการผลิต 10 ชิ้น ได้แก่ กระบอกไม้ไผ่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.00 บาทแชล็คทาสี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.00 บาท หลอดไฟ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.40 บาท สายไฟ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.12 บาท ปลั๊กไฟ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 บาท เชือก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 บาท แปรงทาสี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 บาท
  4. ปัญหาและอุปสรรคการผลิตเครื่องจักสานโคมไฟ เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านสินค้าผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=4.01) รองลงมา ด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายและด้านการผลิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=3.72) และด้านการผลิต มีค่าลี่ยเท่ากับgif.latex?\bar{x}gif.latex?\bar{x} (gif.latex?\bar{x}=3.62)

References

เกษมะณี การินทร์ และคณะ. (2561). การศึกษาต้นทุนที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม ระดับ 5 ดาว ในจังหวัดบุรีรัมย์. วิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ทรูปลูกปัญญา. (2560 มิถุนายน 10 ). เครื่องจักสาน. แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/59979/-timhis-tim-artfin- art-his-cul-

เทอดธิดา ทิพย์รัตน์ และจรรยวรรณ จรรยธรรม. (2552 มิถุนายน 14 ). ออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทงานหัตถกรรม. แหล่งที่มา :

http://annualconference.ku.ac.th/cd53/08_024_O159.pdf?fbclid=IwAR3Xr4ftx0N8CFTHVivX0sfMLIv-_xzdZXdJgl_Be09nWwvLcXMhQv5-J8o

ธงชัย สันติวงษ์. (2556) .การวางแผน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พิสิษฐ์ กองอ้นและคณะ. (2560 มิถุนายน 16). โคมไฟดอก(ปาเต๊ะเต้ง). แหล่งที่มา : http://thaiinvention.net/idetail.php?p=cHJvamVjdF9pZD0zMzM1OCZjZmdfaWQ9MjYmY29tcGV0X2lkPTE=&cond=

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2558). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2558). เครื่องจักสานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งส์ เฮาส์

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2562 มิถุนายน 10). งานศิลปหัตถกรรมประเภทจักสาน. แหล่งข้อมูล : https://www.sacict.or.th/th/detail/2019-12-13-09-13-27

สุกัลญา ทัศมี. (2554 มิถุนายน 14). ปัญหาในการจัดการกลุ่มอาชีพจักสานด้วยไม้ไผ่. แหล่งที่มา : http://mslib.kku.ac.th/elib/multim/books/Marketing2555/ARPHAWADEE%20%20TA BSIRAK/06_ref.pdf

J. Park & T. W. Simpson (2007) Development of a production cost estimation framework to support product family design. International Journal of Production Research. Volume 43, 2005 - Issue 4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022