ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าลายปักอาข่าประยุกต์ของของชนเผ่าบ้านเจียงจาใส บ้านป่าคาสุขใจและบ้านสันติคีรี ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พรทิวา อาสอ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • จตุรพร บัวเขียว นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิภาภรณ์ วุฒิไชย นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิรุตติ์ ชัยโชค อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทนจากการพัฒนา, การออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตกระเป๋าชนเผ่าเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ผลิตกระเป๋าชนเผ่าและเพื่อพัฒนาและการออกแบบลายกระเป๋า ชนเผ่าบ้านเจียงจาใส บ้านป่าคาสุขใจและบ้านสันติคีรี ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนในการทำกระเป๋า โดยเฉลี่ย 801.90 บาท/ใบ มีวัตถุดิบทางตรง โดยเฉลี่ย 160.00 บาท/ใบ มีค่าแรงทางตรง โดยเฉลี่ย 510.00 บาท/ใบ มีค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยเฉลี่ย 131.90 บาท/ใบ
  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการลงทุนของผลิตภัณฑ์กระเป๋าลายปักอาข่า มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 56.29% และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 36.02% ต้นทุนรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 801.90 บาท/ใบ รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1,253.33 บาท/ใบ และกำไรเฉลี่ยอยู่ที่ 451.43 บาท/ใบ
  3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของผู้ผลิตกะเป๋าผ้าปัก พบว่าปัญหาด้านสุขภาพ ( =3.71) ปัญหาด้านการผลิตกระเป๋า ( =3.08) ปัญหาด้านวัตถุดิบ ( =2.92) ปัญหาด้านการออกจำหน่าย ( =2.40)
  4. การพัฒนาและการออกแบบกระเป๋าของชนเผ่าอาข่า มีการพัฒนาจากกระเป๋าดั้งเดิมที่เป็นแบบสะพายข้างนำมาพัฒนาเป็นกระเป๋าที่ถือ มีนำลวดลายรูปแบบเดิมมาผสมกัน เพื่อสร้างแตกต่าง แปลกใหม่ให้กับสินค้า มีการเล่นสีเพื่อเพิ่มความสว่าง ความสดใส เพื่อเพิ่มความโดดเด่นมากขึ้น และมีการนำเครื่องเงินประดับของชนเผ่ามาประยุกต์ใช้รวมกัน

References

ข้อมูลทั่วไปของตำบลแม่สลองนอก. (2562 กันยายน 3). ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน. แหล่งที่มา: http://www.maesalongnok.go.th/sourceFiles.php?page=pbanner2

พิบูลย์ ทีปะปาล. (2558). หลักการตลาด: ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิคจำกัด

เมทิกา สินสุรินทร์. (2562). ต้นทุน ผลตอบแทน และปัญหาของผู้ปักผ้าชนเผ่าม้ง หมู่บ้านไทยเจริญ ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2558). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์

สุพะยอม นาจันทร์,ปทุมพร หิรัญสาลี,จุไรรัตน์ ทองบุญชู,วรกร (2560). ภูมิวิเศษและลักขณา ดำชู. ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรภัฏสงขลา.

เสถียร ศรีบุญเรือง. (2562). การวางแผนและประเมินโครงการ. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2557).“รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบางหัวเสือ จังหวัด สมุทรปราการ ตามแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง.” วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี1, 2: 126-151.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2562 กันยายน 15). การบัญชีต้นทุน. แหล่งที่มา: https://home.kku.ac.th/anuton/cost%20accounting/cost%20split.htm.

Pre-Myguess . (2563 กันยายน 18 ) . ทำไมถึงมีกระเป๋า??.แหล่งที่มา: http://nwalletthai.lnwshop.com/article/1

Fuller, G.W. (1 9 9 4). New Product Development from Concept to Marketplace. CRCPress, Inc. USA: Boca Raton, Florida.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022