การพัฒนาและประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้ง หมู่บ้านขุนห้วยแม่เปา ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณัฐวัตร แก้วเพ็ชร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปพิชญา ท้าวคำหล่อ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • อัษฎา ทรัพย์ทอง นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ธนภัทร กันทาวงศ์ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปพิชญา ท้าวคำหล่อ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้ง, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้ง และศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้ง หมู่บ้านขุนห้วยแม่เปา ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนผู้สนใจผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้ง ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า

ผู้สนใจผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้งลายบุพผาไอยรา ส่วนใหญ่เป็นเพศมีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี รองลงมา มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี ระดับการศึกษามัธยมตอนต้น รองลงมาคือประถมศึกษา และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร รองลงมาคือ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้งลายบุพผาไอยรา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความน่าสนใจ รองลงมาคือ ความประณีตงดงาม พัฒนาด้านลวดลาย และสีแตกต่างจากเดิม การใช้สี ลวดลาย เหมาะสมกับความนิยมปัจจุบัน และความพึงพอใจต่อรูปแบบในภาพรวม

ความพึงพอใจต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้งลายบุพผาไอยรา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การผสมสีของแต่ละลายดูเข้ากันและสมดุล รองลงมาคือ ส่วนประกอบของลวดลายเข้ากันได้ ลวดลายผ้าปักมีความสมดุล ลวดลายผ้าปักมีจุดเด่นภายในตัว และลวดลายผ้าปักดึงดูด หน้าสนใจ น่ามอง

References

ชนันท์วิไล ธงเชื้อ. (2563 มิถุนายน 7). ลายปักม้ง เส้นสายลายปักม้ง. แหล่งที่มา: http://chanant5gmailcom.blogspot.com/2011/05/blog-post.html

วิชัย ธิโวนา. (2550) ปัจจัยที่มีส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการ ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี.

วิชชุดา หุ่นวิไล. (2545). เอกสารการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงานอุตสาหกรรม.กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา

ประสาท อิศรปรีดา. (2541). ความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ: กราฟิกอาร์ต

พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัยและจีระศักดิ์ ทัพผา.(2560). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)

สุชา จันทร์เอม. (2541). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุภัทรา มิ่งปรีชา. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลแพร่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองชนบท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์.

ศุภาพร แซ่ลีและคณะ. (2562). การพัฒนาและออกแบบผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์อาข่า ม้งและ เมี่ยน ในอำเภอเมือง และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อรุณวรรณ ตั้งจันทร. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Armstrong Gary and Philip Kotler. (2007). Marketing: An Introduction. 8th Ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Morse, M. C. (1958). Satisfaction in the White Job. Michigan: University of Michigan Press.

Wolman, T. E. (1973). Education and Organizational Leadership in Elementary Schools. New Jersey: Prentice-Hall

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022