ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาเสื่อกก บ้านสมบูรณ์ดี ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นภิสา ไร่แตง นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • รัตนาวลี อุดใจ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชลกร ภูกัน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การพัฒนาและออกแบบ, เสื่อกก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน และเพื่อศึกษาปัจจัยและปัญหาของผู้ทอเสื่อกก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ผู้ทอเสื่อกก จำนวน 30 ราย การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ผลิตเสื่อกกเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51–60 ปี ร้อยละ 63.33 การศึกษาอยูในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 73.33 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 33.33 ใช้วิธีการทอเสื่อด้วยมือ มีประสบการณ์ในการทอเสื่อมากกว่า 15 ปี ร้อยละ 50.00
  2. ต้นทุนในการทอเสื่อเฉลี่ยต่อ 1 ผืน เท่ากับ 336.67 บาท ซึ่งประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรงเฉลี่ย 181.33 บาท ค่าแรงงานทางตรงเฉลี่ย 100 บาท และค่าใช้ในการผลิตเฉลี่ย 55.33 บาทผลตอบแทนเฉลี่ยต่อผืน เท่ากับ 478.33 บาท กำไรเฉลี่ยต่อผืน เท่ากับ 141.66 บาท อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 42.55 % อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 29.61 %
  3. การพัฒนาและออกแบบเสื่อกก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการนำลวดลายไปใช้กับ            ผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}=4.65) รองลงมาคือด้านลวดลาย (gif.latex?\bar{x}=4.53) ด้านโครงสร้างของเสื่อ (gif.latex?\bar{x}=4.52) ด้านฝีมือการทอ (gif.latex?\bar{x}=4.48) และด้านการใช้สี (gif.latex?\bar{x}=4.27)

References

กิตติศักดิ์ สรชัย. (2562 มิถุนายน 13 ). การทอเสื่อกก. แหล่งที่มา: http://www.nakam.ac.th/nkw/index.php?option=com_content&view=featured

&Itemid=101

กัญญา จันทนะชาติ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ : กรณีศึกษา บ้านเชียงยืน ตำบลเชียงยืน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. หลักสูตรบัญชีบัณฑิตมหาวิทยาลัย ราชภัฎอุดรธานี.

เทพิญ แก้ววรสูตร. (2554). การพัฒนาลวดลายและออกแบบผลิตภัณฑ์จากการทอกก กรณีศึกษาบ้านหนองนกหอ จังหวัดอำนาจเจริญ.วิทยานิพนธ์.คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

มาลีรัตน์ สาผิว. (2563). วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการทอเสื่อกกลายธรรมชาติแบบพับขนาด 200x200 ซม. ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแพงหมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม.สาขาวิชาการบัญชี.มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อัจฉรา กลิ่นจันทร์ . (2557). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022