ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาลวดลายผ้าปักด้วยมือชาติพันธุ์เมี่ยน ในกลุ่มชุมชนวิสาหกิจบ้านใหม่พัฒนา ตำบลยางฮอม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • บุลากร กางกำจัด นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชมพูนุช เมืองแสน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มนัสกร จักสมศักดิ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วิไลลักษณ์ วงศ์ชัย นักวิชาการเงินและบัญชี กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุนและผลตอบแทน, ผ้าปักชาติพันธุ์เมี่ยน, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน ของผ้าปักด้วยมือชาติพันธุ์เมี่ยน และเพื่อพัฒนาลวดลายของผ้าปักด้วยมือชาติพันธุ์เมี่ยน และนำมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกลุ่มชุมชนวิสาหกิจบ้านใหม่พัฒนา ตำบลยางฮอม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มวิสาหกิจหมู่บ้านใหม่พัฒนา ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย จำนวน      15 ราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า
1. ต้นทุนและผลตอบแทนของผ้าปักชาติพันธุ์เมี่ยน ผู้ตอบแบบสอบถาม มีต้นทุนรวมของผ้าปักเพื่อนำไปผลิตเสื้อชาติพันธุ์เมี่ยน เท่ากับ 1,230 บาท/ผืน รายได้เท่ากับ 1,500 บาท/ผืน กำไรขาดทุนเท่ากับ 270 บาท/ผืน ต้นทุนรวมของผ้าปักเพื่อนำไปผลิตกระโปรงชาติพันธุ์เมี่ยน เฉลี่ยเท่ากับ 1,400 บาท/ผืน รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 2,000 บาท/ผืน กำไรเฉลี่ยเท่ากับ 600 บาท/ผืน ต้นทุนรวมของ ผ้าปักเพื่อนำไปผลิตผ้าคาดเอวชาติพันธุ์เมี่ยน เฉลี่ยเท่ากับ 600 บาท/ผืน รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 716.67 บาท/ผืน กำไรขาดทุนเฉลี่ยเท่ากับ 116.67 บาท/ผืน ต้นทุนรวมของผ้าปักเพื่อนำไปผลิตชายผ้าข้างหน้าชาติพันธุ์เมี่ยน เท่ากับ 155 บาท/ผืน รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 475 บาท/ผืน กำไรเฉลี่ยเท่ากับ 320 บาท/ผืน 

 2.  การพัฒนาลวดลายผ้าปักด้วยมือชาติพันธุ์เมี่ยน และนำมาต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.53) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ลายที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ (gif.latex?\bar{x}=4.80) รองลงมา ได้แก่ คุณภาพของงานและความพึงพอใจในภาพรวม (gif.latex?\bar{x}=4.63) และความคิดสร้างสรรค์ (gif.latex?\bar{x}=4.60) การออกแบบลวดลายผ้าปักด้วยชาติพันธุ์เมี่ยน ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x}=4.29) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ประโยชน์การใช้สอย (gif.latex?\bar{x}=4.56) รองลงมา ได้แก่ แบบอย่างและวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x}=4.54) และคุณสมบัติทางวัสดุและเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x}=4.50)

References

กษิรา ภิวงศ์กูร , บุญชู บุญลิขิตศิริและภรดี พันธุภากร (2562) การศึกษาลวดลายชาติพันธ์ชนเผ่า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก หมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร.วารสารมังรายสาร ปีที่ 7 ฉบับที่ 2, 122 – 140.

วีรนันท์ พาวดี (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขาของกลุ่มเย็บผ้า บ้านสันหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท๊อปจำกัด

สุธิษา ศรพรหมและคณะ. (2559) การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าปักอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้ง.วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 7. 111 – 123

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022