ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเครื่องจักสานไม้ไผ่ ชุมชนบ้านแซว หมู่ 1 ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน, ต้นทุนและผลตอบแทนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของเครื่องตกแต่งที่ทำจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ และเพื่อศึกษาปัญหาในการทำเครื่องจักสานไม้ไผ่ ชุมชนบ้านแซว หมู่ 1 ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ ชุมชนบ้านแซว หมู่ 1 ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ต้นทุนการผลิตเครื่องจักสานแต่ละชนิด มีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกันไป ตะกร้าหวด มีต้นทุนเฉลี่ย 190.33 บาทต่อชิ้น หวดนึ่งข้าว มีต้นทุนเฉลี่ย 113.67 บาทต่อชิ้น ชะลอม มีต้นทุนเฉลี่ย 194.58 บาทต่อชิ้น หมวกสาน มีต้นทุนเฉลี่ย 144.67 บาทต่อชิ้น พานขันโตก มีต้นทุนเฉลี่ย 278.15 บาทต่อชิ้น ตะกร้าใส่ของอเนกประสงค์ มีต้นทุนเฉลี่ย 204.00 บาทต่อชิ้น และกระเป๋าสาน มีต้นทุนเฉลี่ย 157.21 บาทต่อชิ้น
2. ผลตอบแทนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน พานขันโตกมีกำไรจากการจำหน่าย มากที่สุด เฉลี่ย 236.85 บาทต่อชิ้น รองลงมาคือ ตะกร้าใส่ของอเนกประสงค์ กำไรเฉลี่ย 122.00 บาท ต่อชิ้น ชะลอม กำไรเฉลี่ย 86.88 บาทต่อชิ้น กระเป๋าสาน กำไรเฉลี่ย 54.07 บาทต่อชิ้น หวดนึ่งข้าว กำไรเฉลี่ย 43.00 บาทต่อชิ้น ตะกร้าหวด กำไรเฉลี่ย 40.93 บาทต่อชิ้น และหมวกสาน กำไรเฉลี่ย 38.67 บาทต่อชิ้น
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งที่ทำจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.37) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความทันสมัย (=4.43) รองลงมา ได้แก่ ความน่าสนใจ และความคิดสร้างสรรค์ (=4.40)
4. ปัญหาในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ ด้านสุขภาพ มีผลเสียต่อสายตา คิดเป็นร้อยละ 18.29 กระดูกสันหลัง คิดเป็นร้อยละ 16.46 และมีผลเสียต่อนิ้วมือ คิดเป็นร้อยละ 12.80 ด้านการพ่นสีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.64) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ พ่นสีไม่ตรงตามที่ทำการออกแบบไว้ (=4.70) รองลงมาได้แก่ สีที่ใช้ต้องสีเสมอเท่าเทียมเหมือนกันหมด (=4.67)
References
ดวงมณี โกมารทัต.(2544) การบัญชีต้นทุน.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมขวัญ ครุบุญยงค์. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พลอยไพลิน บุญฤทธิ์ตมนต์และคณะ (2563) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์หวด: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จักสานบ้านหมากหญ้าอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี.วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วรรณวดี อัมรานนท์. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ : กรณีศึกษากลุ่มถวัลย์ไม้ไผ่จักสาน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุวิมล คำย่อย. (2555).ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหยวกอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี.อุดรธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหยวก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร