การพัฒนารูปแบบผ้าปักชาวไทยภูเขาบ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เกวลิน ซางสุภาพ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชุติพร เรืองชัยศรีกุล นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ตะวัน มณีรัตน์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ความพึงพอใจ, ผ้าปักชาวไทยภูเขา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาผ้าปักชาวไทยภูเขาให้มีความผสมผสานลายผ้ารูปแบบใหม่ ให้ผ้าปักมีความน่าสนใจ สวยงาม โดดเด่น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการพัฒนารูปแบบผ้าปักชาวไทยภูเขา บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์จากผู้ผลิตผ้าปักชาวไทยภูเขา จำนวน 32 ราย ใน บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 56 ปี ขึ้นไป ปักผ้าเพื่อจำหน่ายและปักใช้เอง เป็นการปักผ้าด้วยมือและส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการปักผ้า ปักผ้าเพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อ กระโปรง และกระเป๋า

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบผ้าปักชาวไทยภูเขา ที่ผู้ศึกษาได้ทำการพัฒนาและออกแบบใหม่ พบว่า ความพึงพอใจในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวไทยภูเขาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ (gif.latex?\bar{x} =4.84) สีและลวดลายที่โดดเด่น (gif.latex?\bar{x} =4.59) ความประณีตสวยงาม และเป็นลวดลายที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของผ้าปัก (gif.latex?\bar{x} =4.56) ความพึงพอใจในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวไทยภูเขาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คุณสมบัติทางวัสดุและเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x} =4.63) รองลงมา ได้แก่ ความงามทางศิลปะ (gif.latex?\bar{x} =4.43)

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2555). การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษากลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. ศิลปกรรมสาร, 13-52.

พัชรา อักษินิตย์กุล. (2555 มิถุนายน 12). ความหมายของการออกแบบ.แหล่งที่มาhttps://www.gotoknow.org/posts/315051

อรุณวรรณ ตั้งจันทร เกษร ธิตะจารี และนิรัช สุดสังข์. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 4 ฉบับที่ 2.

Fuller, G.W. (1 9 9 4). New Product Development from Concept to Marketplace. CRC Press, Inc. USA: Boca Raton, Florida

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022