การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นจากใบชา ชุมชนบ้านแม่โมงเย้า ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อรพิน วงศ์ก่อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภานิกา นันตาเป็ก เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • สาลิตา ยั่วยวน เยาวชนผู้ร่วมวิจัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา , ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นจากใบชา, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นจากใบชา และเพื่อศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยศึกษาจากชุมชนบ้านแม่โมงเย้า ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชากรทั่วไปในจังหวัดเชียงราย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม

           ผลการศึกษาพบว่า

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นจากใบชา ผู้ศึกษาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นจากใบชา ที่แต่เดิมเป็นตุ๊กตาจากใบชาเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ ผู้ศึกษาจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นหมอนใบชาที่มีลวดลายผ้าปัก เพื่อให้เกิดความสวยงามและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่าง ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค สามารถใช้ประดับตกแต่ง ดับกลิ่น และยังสามารถใช้หนุนนอนได้ การประเมินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นจากใบชา พบว่า ด้านประโยชน์การใช้สอย อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.89) ด้านความงามทางรูปแบบผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x} =4.02) ด้านความประณีตงดงาม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.35)
  2. ความต้องการและความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านพฤติกรรมการเลือกซื้อ พบว่า ส่วนใหญ่ เลือกซื้อหมอนใบชาขนาด 8*9.5 นิ้ว คิดเป็นร้อยละ 79.00 และหมอนใบชาขนาด 4.5*6.5 นิ้ว คิดเป็นร้อยละ 21.00 โดยเลือกซื้อเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารเคมี คิดเป็นร้อยละ 43.00 รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 36.00 ด้านความพึงพอใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หมอนดับกลิ่นจากใบชาพบว่า ด้านสามารถนำไปใช้ได้จริง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.11) ด้านความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.09) ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.99) ด้านความหลากหลายของรูปแบบสินค้า อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} =3.33)

References

กานต์มณี ครูทำสวนและคณะ. (2558 มิถุนายน 10 ). หม้อคืนชีพ การบูรดับกลิ่นอับชื้น.

แหล่งข้อมูลจาก: http://www.payaptechno.ac.th/app/images/payap/nawattakam-new/year2558/mk/pvc-mk/pvc-mk-5.pdf

มนตรี รุ่งเรือง. (2561 มิถุนายน 15). การออกแบบโปสเตอร์การใช้งานเครื่องจักรให้ได้รับความปลอดภัย. แหล่งข้อมูลจาก:

http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/1229/fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สาคร คันธโชติ. (2528). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สุวิมล คำย่อย. (2555 กรกฎาคม 5). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้า จีเนท โมบายเซอร์วิส เซ็นเตอร์ จันทบุรี. แหล่งข้อมูลจาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55930118.pdf

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน. (2559 กรกฎาคม 2). ข้อมูลทั่วไปของชา.

แหล่งข้อมมูลจาก:https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/157

อัจฉรา มลิวงค์. (2554 กรกฎาคม 3). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวดแผนไทย บ้านแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. แหล่งข้อมมูลจาก: https://cscd.kku.ac.th/uploads/proceeding/190811_160401.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022