การพัฒนาลวดลาย ผ้าพันคอกะเหรี่ยงกลุ่มทอผ้าพันคอบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • รสริน ตะมะ เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาลวดลาย, ปัญหาและข้อเสนอแนะ, ความพึงพอใจของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาลวดลายผ้าพันคอ เพื่อศึกษาปัญหาในการพัฒนาลวดลายของผ้าพันคอกะเหรี่ยงกลุ่มทอผ้าบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร หมู่ 2 ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย  จ.เชียงราย และเพื่อทราบถึงความพึงพอใจต่อผ้าการพัฒนาลวดลายของผ้าพันคอกะเหรี่ยง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริโภค จำนวน 80 คนโดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประกอบอาชีพค้าขาย  มีอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี เป็นคนไทย (2) การพัฒนาลวดลายผ้าผ้าพันคอนั้นเริ่มจากการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจากตอนที่ 3 ตารางที่ 11 – 13 มาวิเคราะห์และ หาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการพัฒนาลวดลายใหม่และศึกษาเพิ่มเติมขั้นตอน เทคนิคในการออกแบบต่างๆ จากกลุ่มทอผ้าบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร เริ่มร่างลวดลายลงในกระดาษและพัฒนาตามความเหมาะสมของลวดลาย ผู้วิจัยได้พัฒนาลวดลายใหม่โดยการผสมผสานกันระหว่างลายธรรมชาติกับ ลายไทย (3) ประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาลวดลายของผ้าพันคอพบว่าในภาพรวม (ลายดอก) อยู่ในระดับปานกลาง (ลายซิกแซ็ก) อยู่ในระดับน้อย (ลายที่พัฒนาใหม่) อยู่ในระดับมาก

References

กษิรา ภิวงศ์กูร, บุญชู บุญลิขิตศิริ และภรดี พันธุภากร (2562) การศึกษาลวดลายชาติพันธ์ชนเผ่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก หมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร. วารสารมังรายสาร. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2.หน้า 123-140

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2554). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ : ธรรมสาร

ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ (2563). การออกแบบลวดลายเรขศิลป์ผ้าพิมพ์ลายจากอัตลักษณ์ผ้าทอกะเหรี่ยง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.) ปีที่ 22 ฉบับที่ 2.หน้า 100 – 121

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022