การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือ บ้านปิน ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ภัทรา เตชะธีระเศรษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุวพิชชา ดวงบุผา เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • ณัฐพล แสงงาม เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • อดิศร ปิงยศ เยาวชนผู้ร่วมวิจัย

คำสำคัญ:

ผ้าฝ้ายทอมือ, เสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าฝ้ายทอมือ บ้านปิน ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์เสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือบ้านปิน จำนวน 100 คน วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างศึกษาใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือที่ผู้ศึกษาได้ทำการพัฒนา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสื้อที่มีลวดลายจากเศษผ้าซิ้นให้สวยงามและหลากหลาย เป็นการเพิ่มสีสันและลวดลายโดยเพิ่มลวดลายจากผ้าซิ้นที่มีสีสัน เพิ่มความทันสมัย และออกแบบให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งาน ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.97) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}=4.09) รองลงมาคือ ด้านราคา (gif.latex?\bar{x}=4.06) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x}=3.89) และด้านการส่งเสริมการขาย (gif.latex?\bar{x}=3.85) ตามลำดับ

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2559). การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา: กลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. ศิลปกรรมสาร, 11(1), 13-51.

กชวรา ศาลารมย์. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการทำบัญชีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการของกลุ่มทอผ้าบ้านโพนงาม ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จักรพันธ์ สุระประเสริฐ. (2558). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้ากรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทลื้อบ้านเฮี้ย อ.ปัว จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ : นัยยะเพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 26-37.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อัจฉราพร ไศละสูต. (2539). ความรู้เรื่องผ้า. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์ – วิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2022