การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ดร.ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • นัยนา แคล้วเครือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • พรสิริ สุขผ่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ยุพา สะรุโณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ลำใย มีเสน่ห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

บัญชีครัวเรือน, เศรษฐกิจพอเพียง, เกษตรกร

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดทำบัญชี สภาพปัญหา อุปสรรค และทราบข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกรเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 100 คน  โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย  ครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ประกอบด้วยค่าสถิติ  ดังนี้ 1. ค่าความถี่และค่าร้อยละ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ (รายรับ – รายจ่าย) และการเข้ารับการฝึกอบรมการทำบัญชีครัวเรือน และ 2. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับปัจจัยด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร

ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยได้รับการแนะนำจากหน่วยงานรัฐบาลและผู้นำชุมชน สาเหตุในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อต้องการทราบรายรับ – รายจ่ายของครอบครัว และส่วนกลุ่มเกษตรกรที่ไม่จัดทำบัญชีครัวเรือนนั้น เพราะยังไม่เข้าใจรูปแบบ / วิธีการจัดทำบัญชี     2. กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่พบปัญหา อุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ การอ่านหนังสือไม่ออกจึงไม่สามารถจดบันทึกบัญชีครัวเรือนได้ อีกทั้งยังขาดประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ประกอบกับเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานภาครัฐ ไม่มีการติดตามผล จึงส่งผลต่อกลุ่มตัวแทนเกษตรกร ส่วนใหญ่ขาดการบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอ และ 3. ได้ทราบข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกร ดังนี้ เพื่อให้การจัดทำบัญชีครัวเรือนสัมฤทธิ์ผล ควรมีการอบรมความรู้เพิ่มเติมและฝึกฝนการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอ

References

Bangan, Vicki L. (2013). Household investment decision and offspring gender: parental accounting. Applied Economics. Nov2013, Vol.45 Issue1.

Carnegie, Garry and Walker, Stephen. (2017). Household accounting in Australia. Accounting, Auditing & Accountability Journal. 2007, Vol.20 Issue1.

Jitsopin Merakate. (2010). Relationship between leisure time allocation under the sufficiency economy philosophy and family function: A case study of selected adolescent groups. Kasetsart University.

ชนิตา โชติเสถียรกุล. (2551). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนของผู้ปกครองนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

ฐิติมา วัฒนจัง. (2556). รายงานวิจัยเรื่องการบรรเทาความยากจนของเกษตรโดยใช้หลักของเศรษฐกิจพอเพียง

นิรมล กิติกุล. (2552). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นดิ้วกรุ๊ป.

บุษยา มั่นฤกษ์. (2556). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร. กรุงเทพมหานคร : วนิดาการพิมพ์

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 7 (เล่มที่ 1 เดือนตุลาคม 2554 – เดือนมีนาคม 2555). หน้า 20-28.

รงค์ ประพันธ์พงศ์. (2559). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพมหานคร : เยลโล่การพิมพ์.

รุ่งรัตน์ วงษ์จู. (2553). พอเพียงและยั่งยืนด้วยทฤษฎีใหม่. วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพิ่มพูนคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2, หน้า 42.

วาริพิณ มงคลสมัย. (2552). การจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน.

ศิรประภา ศรีวิโรจน์. (2553). การศึกษาสภาพปัญหาและการติดตามประเมินผลโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. (2552). การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุภัทรษร ทวีจันทร์. (2556). การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2022