การใช้ข้อมูลบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
บัญชีบริหาร, ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ, ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ข้อมูลบัญชีบริหารในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEsในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) ศึกษาความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ข้อมูลทางบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสุ่มตัวอย่างทั้งหมด 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การใช้ข้อมูลบัญชีบริหารในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านการวางแผน ด้านการสั่งการ ด้านการควบคุม และด้านการตัดสินใจ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ SMEs ในจังหวัดอุตรดิตถ์ทั้งด้านผลการดำเนินงานทางการเงิน และผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินอยู่ในระดับมาก และยังพบว่าการใช้ข้อมูลบัญชีบริหารด้านการวางแผนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงิน และความสำเร็จในการดำเนินงานที่ไม่ใช่การเงินของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดอุตรดิตถ์
References
ธุรกิจ SMEs. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2556, จาก https://moneyhub.in.th/article/ธุรกิจ-sme-คืออะไร/
เพ็ญนภา อินทเสน. (2550). ความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีในการตัดสินใจด้านกิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจอสัหาริมทรัพย์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นท์ติ้ง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: เสมาสาสน์.
สารทูล บัวขาว. (2549). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ประเภทการผลิตสินค้า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์. ตารางสรุปข้อมูลนิติบุคคลในจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=142
สุชาดา สถาวรวงศ์. (2554). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีเพื่อการจัดการ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบัญชีการเงินและการบัญชีเพื่อการจัดการ. หน่วยที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์
สุวารินทร์ จอมคำ. (2553). ความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีในการบริหารงบประมาณของเทศบาลตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนิวัช แก้วจำนง. (2550). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สงขลา : สำนักพิมพ์นำศิลป์โฆษณา.
Aaker, A.D., Kumar and G. S. Day. (2001). Marketing research. (7th ed). New York: John Wiley & Son.
Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R.L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Nunnally, J. C. and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics and Introductory Analysis. Harper & Row, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร