การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยกัญชงของบ้านพญาเลาอู ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วิมลศิริ ชาวไพร นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สิราวรรณ มาน้อย นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุณัฐฐา ไม้ขนุน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากใยกัญชง, ต้นทุน, การพัฒนาและออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยกัญชง 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยกัญชง และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยกัญชง โดยมีพื้นที่ในการศึกษาได้แก่ บ้านพญาเลาอู ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ผลิตผ้าทอใยกัญชง บ้านพญาเลาอู ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยกัญชงที่พัฒนาอยู่ในรูปแบบของเสื้อสตรี โดยเพิ่มความทันสมัยแต่ยังคงแสดงความเป็นเอกลักษณ์ มีการออกแบบที่ใช้สีเหมาะสมกับสตรีวัยทำงาน และลวดลายที่ทอมีความเหมาะสมกับเนื้อผ้าใยกัญชง 2) การผลิตเสื้อจากผ้าทอกัญชงมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 735.63 บาทต่อผืน และผลตอบแทน 1,200 บาทต่อผืน และ 3) ความพึงพอใจในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยกัญชงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.81) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม ( gif.latex?\bar{x}=4.05) รองลงมา ได้แก่ ด้านความสวยงาม และด้านลวดลาย ( gif.latex?\bar{x}=3.90, gif.latex?\bar{x}=3.88)

References

กัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ. (2562). ใยกัญชงมหัศจรรย์เส้นใยแห่งสายวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าม้ง.วัฒนธรรม,58(1), 112-117.

ชุติมา อธิคมธร. (2562 มกราคม 15). มารู้จักกัญชงกันเถอะ.1.แหล่งที่มาhttp://www.tak.doae.go.th/KM%20Pobpra01.pdf.

ใจภักดิ์ บุรพเจตนา. (2557) . ทิศทางการจัดการศึกษาด้านแฟชั่นและสิ่งทอ: แนวคิดการจัดการศึกษาในกระแสเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 1(2), 89-113.

ฐปนีย์ ศรีแก้ว และ ตติยา เทพพิทักษ์. (2560). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีสำหรับผู้บริโภคสีเขียว. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(1), 125-141.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ วงศ์ใหญ่. (2563 กรกฎาคม 15). ชาวม้งภูชี้ฟ้าสืบสานพระราชดำริทำผลิตภัณฑ์การทอผ้าใยกัญชง. 1. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/north/1767633.

ศิษฏ์ ลือนาม. (2555). การพัฒนาลวดลายตกแต่งบนเครื่องปั้นดินเผาห้วยวังนองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อัญชลี พยัคฆเดช. (2559). การออกแบบอัตลักษณจากมรดกศิลปวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2022