การศึกษาปัจจัยการดำเนินการผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานที่นอนแมวไม้ไผ่ บ้านดอกบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ ผุดเผือก อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายสุราษฎร์ธานี
  • ธีราพร คิดดี เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • เบญจมาศ วงค์รัตน์ เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • รมิดา จิตอารีย์ เยาวชนผู้ร่วมวิจัย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานที่นอนแมว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จักรสานไม้ไผ่ที่นอนแมว    2) ปัจจัยการดำเนินการผลิตของธุรกิจจักสานที่นอนแมวที่ส่งผลต่อต้นทุนและผลตอบแทนกลุ่มจักสาน บ้านดอกบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศหญิงร้อยละ 90.00 มีอายุระหว่าง 50 – 60 ปี ประกอบอาชีพจักสานที่นอนแมวเป็นอาชีพเสริม ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น
  2. ต้นทุนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตจักสานที่นอนแมว ได้แก่ มีดเท่ากับ 63.50 บาท กรรไกรตัดไม้ไผ่ 122 บาท ตลับเมตร 110 บาท ค้อน 193 บาท เชือก 51.40 บาท ลวด 70.20 บาท สีเคมีย้อม 15 บาท คีมหนีบ 87 บาท สิ่ว 140 บาท รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จักสานที่นอนแมว พบว่ารายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่นอนแมวเฉลี่ย 344,425 บาทต่อปี ต้นทุนวัตถุดิบทางตรงเฉลี่ย 235,000 บาทต่อปี และค่าแรงงานทางตรงเฉลี่ย 22,900 บาทต่อปี
  3. ปัจจัยการดำเนินการผลิตของธุรกิจจักสานที่นอนแมวที่ส่งผลต่อต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายด้าน พบว่า ด้านการตั้งราคา ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการขาย

       4. ปัญหาและอุปสรรคจากการผลิตจักสานที่นอนแมว เมื่อพิจารณารายการพบว่า ผลิตภัณฑ์               มีความน่าเชื่อถือว่าจะไม่เกิดเชื้อรามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์               ของตลาดไม่แน่นอน วัตถุดิบเสียหายระหว่างการจักสาน การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง                 ค่าแรงงานในการจ้างคนงานจักสานสูง

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555 มีนาคม 13). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา.แหล่งที่มา: http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2555/b175787.pdf

จารุวรรณ รัตนโภคา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ หลักสูตรฐานสมรรถนะวิชาชีพ หัตถกรรมโดยภูมิปัญญาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธนิต โสรัตน์. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) เพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์และส่งเสริมการตลาด. บริษัทในเครือวี-เซิร์ฟ กรุ๊ป.

วารุณี ธรรมเจริญศักดิ์. (2560 กันยายน 6). การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มหัตถกรรมจักสาน กรงนก บ้านหนองทราย ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. แหล่งที่มา: http://rd.hu.ac.th/Download%20File/Full%20Text%20Research/600233.pdf

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2540). ชุดมรดกศิลปหัตถกรรมไทยเครื่องจักสานไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งส์

วิภา แก้วปานกัน. (2552). แนวทางอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ในจังหวัด นครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ศักดิ์ชาย สิกขา. (2558 กันยายน 5). การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ในภาคอีสาน. แหล่งข้อมูล: file:///C:/Users/ACER/Downloads/35966-Article%20Text-81724-1-10-20150703%20(4).

สุธาสินีน์ บุรีคำพนธัและกมลรัตน์ อัตตปัญโญ (2562 กรกฏาคม 4) การศึกษาปัจจัยและภูมิปัญญาหัตถกรรม ท้องถถิ่นเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์. แหล่งที่มา: https://ph01.tcithaijo.org/index.php/JIE/article/view/157163/143065

อนุชิต กุลมาลา. (2552). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านงานจักสานไม้ไผ่เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิง พาณิชย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York, NY.

Kotler, Philip. (2003). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice – Hall, Inc.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York, NY.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2022