การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าจากเศษผ้า หมู่บ้านต้นยาง ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ว่าที่ร้อยตรี ดร.พรชัย เตชะธนเศรษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • พงศพัทธ์ ชุ่มมงคล เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • ทศพล โคนทรงแสน เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • ประกิจ ชาติแขม เยาวชนผู้ร่วมวิจัย

คำสำคัญ:

กระเป๋าผ้าจากเศษผ้า, ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าจากเศษผ้า 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนากระเป๋าผ้าจากเศษผ้า และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการผลิตกระเป๋าผ้าจากเศษผ้า พื้นที่ในการศึกษาได้แก่ หมู่บ้านต้นยาง ตำบลจันจว้า    อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่มีความสนใจหรือซื้อถุงผ้าในจังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าจากเศษผ้าที่พัฒนาและออกแบบ มี 2 ลวดลาย คือลวดลายทั่วไป เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการความเรียบง่าย และลวดลายคล้ายผ้าปักของชนเผ่า ทำให้มีเอกลักษณ์ และมีความสวยงาม แตกต่างจากที่อื่น 2) ความพึงพอใจในการพัฒนากระเป๋าผ้าจากเศษผ้า พบว่า ด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของสินค้า คิดเป็นร้อยละ 44.50 และ 3) ปัจจัยในการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตกระเป๋าผ้าจากเศษผ้า พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการตั้งราคาการจำหน่าย

References

กนกอร เวทการ. (2556). การศึกษากระบวนการเข้าสู่กลุ่มอาชีพเสริมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบล ลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กุณฑลี รื่นรมย์. (2551). การวิจัยตลาด Marketing Research. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง และคณะ. (2559). การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3. 22 ธันวาคม 2559. อาคารทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 384-392.

จุรีวรรณ จันพลา และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 82-98.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิบูล ไวจิตรกรรม. (2559). การสร้างอัตลักษณ์สินค้าให้กับผลิตภัณฑ์ฮาลาลในประเทศไทย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 95-107.

วิสิทธิ์โพธิวัฒน์. (2561). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย. 1 มีนาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ม.ป.ป.

ศิริญญา อารยะจารุ. (2556). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทของใช้จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติโดยใช้แนวคิดในการออกแบบอย่างยั่งยืน กลุ่มทอผ้าลายโบราณบ้านทัพคล้าย จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2548). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสารจำกัด.

สุรัชนา พิชยานภากุล. (2548). การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อภัสนันท์ ใจเอี่ยม และรจนา จันทราสา. (2561). การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟสำหรับบ้านพักอาศัยจากเศษผ้าเหลือใช้ในอุตสาหกรรมผ้าไทย บ้านเจริญสุข จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 1(1), 95-107.

อัจฉราพร ไศละสูต. (2539). ความรู้เรื่องผ้า. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์-วิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2022